วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning log 2

                Learning log 2
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียน นอกชั้นเรียน...
                จากการเรียนวิชาการแปลในคาบนี้เป็นการคิดทบทวนตัวเองว่า รู้อะไรมา?   เรียนแล้วได้อะไร? ต้องการรู้อะไร? , รู้จักการคิดทักษะในขั้นสูงสุด Higher order thinking skill  เป็นการตอบคำถามจากอาจารย์ ซึ่งในการตอบคำถาม ทำให้ดิฉันได้คิด รู้จักคิดให้ไตร่ตรองที่จะตอบ นอกจากนั้นรู้จักวิธีการเรียนการสอนที่ดีในชั้นเรียน ว่าการเรียนเราควรที่จะมีเป้าหมาย มีการวางแผนและกล้าที่จะแสดงออก การที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนควบคู่กันไปทำให้เรารู้จักวิธีการหาความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น ได้รับประโยชน์มากมาย รู้จักหาวิธีการที่จะไปต่อยอดความรู้ในอนาคตข้างหน้า
                ทั้งนี้การเรียนภาษาอังกฤษคนที่รู้ ควรที่จะหาความรู้เพิ่มเติม รู้ให้มากขึ้นกว่าเดิม คนที่ไม่รู้ควรที่จะพัฒนาตัวเอง อ่าน ฝึกฝน ทำให้ตัวเองรู้ให้ได้ ดังนั้นเราควรมีการประเมิน Solf  - Assessment   การเรียนภาษาเราต้องกล้าแสดงออก กล้าที่จะพูด ตอบคำถาม นำทักษะที่ได้เรียนรู้ เช่นการอ่าน การพูด ไปใช้ในสถานการณ์จริง เรียนภาษาจะต้องฝึกฝนบ่อยๆ นอกจากนี้การเรียนในชั้นเรียนทำให้รู้จักคำว่า KWL และ INTERACTION
                KWL: K=know คุณรู้อะไร?  , W =want คุณต้องการรู้อะไร? , L=Learn คุณได้เรียนรู้อะไร? เป็นการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม  ซึ่งการตอบคำถามเหล่านี้ทำให้เราได้คิดทบทวนตัวเอง กระตือรือร้นที่จะหาตอบคำถามตลอดเวลา โดยการใช้ทักษะขั้นสูงสุด Higher order thinking skill   การตอบคำถามของผู้เรียนสะท้อนกลับในหลายๆด้านและเป็นการโต้ตอบที่เกิดขึ้นระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ซึ่งเรียกว่า ‘interaction’ เป็น 2  ประเภท   1. One ways communication : มีเพียงผู้ส่งสาร ขาดผู้รับสาร กล่าวคือ การเรียนการสอนในห้องเรียนมีเพียงครูที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดเนื้อหาความรู้แต่เพียงผู้เดียว ส่าวนผู้เรียนไม่รับรู้ โต้ตอบน้อย น้อยมากหรือไม่โต้ตอบเลย ทำให้ผู้เรียนไม่เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ 2. Two ways communication : เป็นลักษณะที่ดี เหมาะแก่การเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1. “Whole class; ทุกคนมีส่วนร่วม มีการโต้ตอบระหว่างผู้สอนและผู้เรียนได้เป็นอย่างดี 2. Group work: การทำงานเป็นทีม ,กลุ่ม ทุกคนที่ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 3. Pans work: การทำงานเป็นคู่ คล้าย Group work มีความวุ่นวายน้อยกว่า หากเราเลือกวิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสม สร้างบรรยากาศในการเรียนได้ดีก็จะช่วยส่งผลต่อการเกิดการเรียนรู้ที่ดีทั้งผู้สอนและผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
                การเรียนรู้ในชั้นเรียนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่เราจะพัฒนาตนเองในด้านต่างๆกล้าที่จะแสดงออก กล้าที่จะตอบคำถาม มีทักษะความคิด การทำงานที่ดีร่วมกับผู้อื่นสร้างการเรียนรู้ที่ดี การเรียนควรมีเป้าหมาย คนที่สอบได้ ประสบความสำเร็จคือคนที่วางแผนดี  นอกจากเรียนรู้ในชั้นเรียนที่เราสามารถนำมาพัฒนาตนเองได้แร้ว การเรียนรู้นอกชั้นเรียนเป็นการหาความรู้เพิ่มเติมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อที่จะพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ภาษาที่ดี จากการเรียนวิชาการแปล ได้อ่านเพิ่มเติมเรื่องกลยุทธ์ในการแปล
                ปัจจุบันภาษาอังกฤษถือว่าเป็นภาษาที่สำคัญ มีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบที่หลากหลายลักษณะมากขึ้น มีการสอนภาษาอังกฤษผ่านวิทยุโทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น การเรียนภาษาแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆ การเรียนภาษาต้องมีสองด้านควบคู่กัน คือ ความรู้และทักษะ  -ความรู้เป็นภาคทฤษฎี  -ทักษะเป็นภาคปฏิบัติ (ความชำนาญที่เกิดจากการฝึกฝน) คุณภาพมาตรฐานในเรืองการเรียนการสอนก็ยังคงปัญหาเดิมคือ ส่วนใหญ่ผู้เรียนในทุกระดับยังไม่รู้ภาษาอังกฤษที่เพียงพอที่จะฟัง พูด อ่าน เขียนและแปล ในขั้นที่ใช้การได้อย่างแท้จริง เมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์ คนส่วนใหญ่มักจะมุ่งไปที่เหตุปัจจัยภายนอกตัวผู้เรียน คือ โทษครูผู้สอน   ว่าขาดความรู้ความชำนาญ,โทษตำราเรียน แบบเรียน และสื่อการเรียนการสอนว่าขาดคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน ไม่นำไปสู่การเรียนรู้ให้เกิดทักษะในการใช้ภาษาอย่างแท้จริง ,โทษสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอน การเรียนภาษาอังกฤษเวลาน้อยเกินไป, โทษนโยบายของรัฐ,โทษสภาพแวดล้อมทางสังคม แม้ระบบการศึกษาภาษาอังกฤษจะอ่อนแอ ก็ยังคงมีนักเรียนนักศึกษาบางส่วนที่เก่งภาษาอังกฤษ
                การเรียนภาษาให้ได้ผล มีปัจจัยหลายด้าน แต่สิ่งสำคัญสุดคือผู้เรียนที่เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดดังคำกล่าวที่ว่าภาษานั้นเรียนได้ แต่สอนไม่ได้ผู้เรียนภาษาอังกฤษควรปรับเปลี่ยนคติใหม่ การพึ่งพาต้นเองเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นต้องดำเนินไปอย่างเป็นระบบหรือมีระเบียบแบบแผน โดยอาจมีขั้นตอนสำคัญดังนี้
1.กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย 2. รู้จัก จัดเตรียมและแสวงหาแหล่งเรียนรู้ 3. พัฒนากลยุทธ์การเรียน
4. ลงมือปฏิบัติ และต้องให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงด้วย โดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความถนัด และการจัดสรรเวลา เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้แล้ว เราต้องรู้จัก จัดเตรียมและเสาะหาสื่อ แหล่งความรู้ที่เอื้อต่อการฝึกทักษะด้วยตนเอง โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ,แหล่งท่องเที่ยว,หนังสือพิมพ์รายวัน,ห้องสมุด,ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย,คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
                นอกจากกำหนดวัตถุประสงค์ แสวงหาแหล่งเรียนรู้ สิ่งสำคัญคือกลยุทธ์ในการเรียนภาษา ซึ่งแต่ละคนจะมีวิธีการเรียนรู้อันเป็นลักษณะเฉพาะตัว กลยุทธ์นี้เป็นพื้นฐานในการเรียนภาษา มีองค์ประกอบ 10 ประการ คือ นักศึกษา การเรียนภาษาจะต้องเริ่มจากความรู้เกี่ยวกับตัวภาษา มีอยู่ 2 ด้าน คำศัพท์และไวยากรณ์  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษา,ความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของภาษา: สื่อสารกับเจ้าของภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ,การเรียนภาษาต้องผ่านการฝึกฝน การเรียนแต่ภาคทฤษฎีโดยไม่ปฏิบัติ อาจทำให้บรรลุเป้าหมาย วิธีการฝึกฝน การอ่าน,การดู,การฟัง,การอ่านออกเสียง,การเรียนรวมถึงการคิด จิตในการรักเรียนภาษา การเรียนภาษาบางเรื่องมีเนื้อหามาก ซับซ้อน ผู้เรียนภาษาที่ดีจึงต้องเป็นคนช่างสังเกตและจดจำ ต้องใส่ใจในเรื่องใหญ่ๆคือไวยากรณ์และคำศัพท์ ภาษาสำเร็จรูป ซึ่งการจดจำมาจากการฝึกฝนหรือทำซ้ำๆอาจมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
                นอกจากนี้ในแต่ละภาษาจะมีสัญนิยม            ข้อตกลงร่วมกันระหว่างคนที่ใช้ภาษาเดียวกันเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกัน ด้วยเหตุนี้การเรียนภาษาจึงต้องอาศัยการเลียนแบบตามขั้นตอน จากนั้นต้องรู้จักดัดแปลงให้เข้ากับวัตถุประสงค์ในการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ อาศัยความรู้เรื่องไวยากรณ์ คำศัพท์และสำนวนโวหารเป็นพื้นฐานสำคัญ การเรียนภาษาในระดับที่สูงขึ้นต้องอาศัยการวิเคราะห์ มี 3 ระดับ ระดับคำศัพท์ : วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำศัพท์และสำนวน,ระดับไวยากรณ์ : วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของวลีและประโยค,ระดับถ้อยความ : วิเคราะห์โครงสร้างความหมายของประโยค ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนภาษาอังกฤษ การเรียนนั้นจากตำราอาจไม่เพียงพอ ผู้เรียนมีความจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อที่จะนำทักษะความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์จริง เพื่อทดสอบและตรวจสอบดูว่าความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้มาเพียงพอหรือไม่ ดังนั้นผู้เรียนภาษาต้องมีการฝึกฝน ช่างสังเกตและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดบกพร่อง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป
                กลยุทธ์   ในการเรียนภาษา จำเป็นต้องนำมาใช่บ่อยๆอย่างสม่ำเสมอ จึงบังเกิดผลเพราะการเรียนภาษาถือเป็นกระบวนการที่ต้องนำเนินไปตลอดชีวิตและสิ่งสำคัญคือตัวเราเองที่ต้องฝึกฝนและหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งในการเรียนในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก ทำให้เราได้คิด ได้ฝึกทักษะต่างๆทั้งการคิด การพูด การแสดงออกและการเรียนรู้ การเรียนการสอนที่ดีในชั้นเรียน


Learning Log 1

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
                โครงสร้าง “structure” เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา เราพูดที่เป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้หรือเข้าใจโครงสร้างภาษา  โครงสร้างเป็นสิ่งกำหนดที่ทำให้เราสื่อสารกันรู้เรื่องในการใช้ภาษาใดก็ตาม ถ้าเราไม่รู้หรือไม่เข้าใจโครงสร้างของภาษาเราก็จะล้มเลวในการสื่อสารและพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้
                ในการแปล ปัญหาที่สำคัญนั้นคือ ปัญหาทางโครงสร้าง การที่เรารู้คำศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่ถ้าหากเราไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นเราก็อาจจะล้มเหลวได้ เพราะอาจตีความผิดหรือถ่ายทอดเป็นภาษาเป้าหมายที่ผิดได้
                จะเห็นได้ว่าผู้แปลจะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของประโยคได้โดยจะเปรียบเทียบให้เห็นประเภทของไวยากรณ์ที่สำคัญและโครงสร้างของประโยคต่างๆในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการไปในอนาคตได้

1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
                ชนิดของคำ  parts of speech เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง  เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสารประโยคถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ไวยากรณ์
                ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category)     ลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำและไม่สำคัญเลยในอีกภาษาหนึ่งก็ได้ เช่น พจน์ เป็นสิ่งสำคัญมากในภาษาอังกฤษ ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงพจน์ก่อนเสมอเมื่อจะใช้คำนามนับได้
1.1       คำนาม
ประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ marker ในภาษาอังกฤษแต่เป็น
ลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย
1.1.1                   บุรุษ person เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ประโยคหมายถึงผู้พูด ผู้ที่ถูกพูดด้วย หรือผู้ที่ถูกพูดถึง  ภาษาอังกฤษแยกรูปสรรพนามตามบุรุษที่ 1 2 และ 3 อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ภาษาอังกฤษยังมีการเติม s  ที่กริยาของประธานที่เป็นบุรุษที่ 3 เอกพจน์บุรุษอื่นไม่มีการเติม     ภาษาไทย ไม่แยกเด่นชัดเพราะบางคำก็ใช้ได้หลายบุรุษสำหรับภาษาไทยนั้นไม่มีการแสดงความต่างเช่นนี้
1.1.2                   พจน์ ( number ) พจน์ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียงหรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง  ภาษาอังกฤษมีการแบ่งพจน์โดยใช้ตัวกำหนด a/an นำหน้าคำนามเอกพจน์เท่านั้นและแสดงพหูพจน์โดยการเติมหน่อยท้ายศัพท์ –s   ภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวน
1.1.3                    การก (case ) เป็นตัวบ่งชี้คำนามนั้นๆว่ามีบทบาทอะไร คือ สัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไรภาษาอังกฤษ การกของคำนามมักแสดงด้วยการเรียงคำ การกเจ้าของภาษาอังกฤษแสดงโดยการเติม –s ที่หลังคำนาม    ภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำ แต่มีการเรียงคำที่ต่างจากภาษาอังกฤษ
1.1.4                   นานนับได้ กับ นามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns)
ในภาษาอังกฤษแยกความแตกต่างระหว่างคำนามกับคำนาม โดยการใช้ ตัวกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม –s ที่นามนับได้พหูพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an และต้องไม่เติม –s   มีการใช้หน่อยบอกปริมาณหรือปริมาตรกับคำนามที่นับไม่ได้ทำให้เป็นหน่อยเหมือนนับได้  ในภาษาไทยคำนามทุกคำนับได้  เพราะมีลักษณะนามบอกจำนวนของทุกสิ่งได้
1.1.5   ความชี้เฉพาะ ( definiteness ) การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ ตัวที่บ่งชี้ความชี้เฉพาะคือตัวกำหนด ได้แก่ a/an ซึ่งบ่งความไม่ชี้เฉพาะ และ the ซึ่งบ่งความชี้เฉพาะ  ผู้พูดภาษาอังกฤษต้องหัดแยกแยะตั้งแต่เริ่มพูด   ผู้พูดภาษาไทยไม่มีการแยกความแตกต่าง
1.2  คำกริยา
                         เป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อนกว่าการใช้คำนาม เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท
1.2.1      กาล( tense )
                คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอ ทั้งอดีตและปัจจุปัน
-      ภาษาไทยไม่ถือว่ากาลเป็นเรื่องสำคัญ
1.2.2      การณ์ลักษณะ(aspect) คือลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์
-              ในภาษาอังกฤษ ได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่อง หรือการณ์ลักษณะดำเนินอยู่และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น
-              ในภาษาไทยจะมีคำว่า กำลัง อยู่ แล้ว ในการแสดงการณ์ลักษณะนี้
1.2.3      มาลา(mood) คือประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร
มีมาลาในภาษาอังกฤษ
ไม่มีมาลาในภาษาไทย
1.2.4      วาจก(voice) เป็นตัวบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยาว่าประธานเป็นผู้กระทำ หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ ในภาษาอังกฤษ ประโยคส่วนใหญ่จะมีกริยาเป็นกรรตุวาจก
ในภาษาไทย คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเอง
กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs. non-finite)
ภาษาอังกฤษมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น
                ภาษาไทย กริยาทุกตัวไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน

1.3      ชนิดของคำประเภทอื่น
ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับคำกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา
-              คำบุพบทในภาษาอังกฤษสามารถห้อยท้ายวลีหรือประโยคได้
-              ภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้
2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
        หน่วยสร้าง  (construction) หน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง หน่วยสร้างในภาษาอังกฤษและภาษาไทยไทยต่างกัน
2.1 หน่วยสร้างนามวลี: ตัวกำหนด (Determiner) + นาม (อังกฤษ) Vs. นาม (ไทย)
                - นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอ
                - นามวลีในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนดแบบภาษาอังกฤษแต่มีตัวบ่งชี้
                2.2 หน่วยสร้างนามวลี: ส่วนขยาย + ส่วนหลัก (อังกฤษ) Vs. ส่วนหลัก + ส่วนขยาย (ไทย)
                - ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก
                - ภาษาไทยวางส่วยขยายไว้หลังส่วนหลัก
                2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions)
                - ภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเดียวที่เด่นชัด
                - ภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ
กริยาที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก ภาษาไทยมักเป็นกรรตุวาจก เช่นสนใจ ตื่นเต้น ส่วนในภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจก
                2.4หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับ ประโยคเน้น topic (ไทย)
                2.5หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb constructon) หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล

3 .สรุป
        3.1 เรื่องชนิดของคำ(ปัญหาเกิดจากการที่ภาษาหนึ่งมีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาษาไม่มี)
ภาษาอังกฤษมีตัวกำหนด(determiner)นาม(noun)กริยา(verb)คุณศัพท์วิเศษ(adverb)บุพบท(preposition)และสันธาน(conjunction)ไม่มีลักษณะนาม(classifier)และคำลงท้าย(final particle)
ภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษยกเว้นคุณศัพท์และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษได้แก่ลักษณะนามและคำลงท้าย
3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์
สำหรับคำนามภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้บุรุษพจน์การนับได้นับไม่ได้ชี้เฉพาะแปลภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจนสำหรับคำกิริยาภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้การมาลาวาจกกิริยาแท้ไม่แท้แปลภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจนในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษผู้แปลจึงควรสำเหนียกความแตกต่างในเรื่องนี้เป็นพิเศษ
3.3 เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค
     นามวลี นำมารีในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับแต่ในภาษาไทยตัวกำหนดจะมีหรือไม่มีก็ได้. 
     การวางส่วนขยายในนามวลีมีความแตกต่าง อย่างตรงข้ามกันระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
     หน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจนแปลในภาษาไทยมีหลายรูปแบบและไม่จำเป็นที่จะต้องแปลงหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจกภาษาไทยเสมอไป
ประโยคนี้ประธานกับประโยคนี้เป็นเรื่องประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอแต่ประโยคในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธานและประโยคส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยเรื่อง
หน่วยสร้างกิริยาเรียง--มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ

ข้อสรุปสุดท้ายคือหากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังแสดงมาข้างต้นผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลงและผลงาน

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
                ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง ดังนั้นการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมาย เพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก และวิวัฒนาการที่มีความก้าวหน้าขึ้น คนต่างชาติต่างภาษาในโลกได้มีการสื่อสารกัน การแปลจึงมีความสำคัญมาก เพราะบางคนอาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องมีการติดต่อโดยใช้ภาษาต่างประเทศแต่ตนเองนั้นมีความรู้ด้านนี้ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปล นอกจากนี้ยังมีการแปลที่สร้างชื่อเสียงให้กับตนเองอีกด้วย เช่น การแปลนวนิยายและสารคดีบันเทิงต่างๆ
การแปลในประเทศไทย
                การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราชส่งโกสาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส จึงทำให้มีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก ดังนั้น การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย ตั้งแต่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เริ่มเข้ามา รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยี  นอกจากนี้การแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน และสร้างความเข้าใจระหว่างนานานชาติ ทำให้เกิดสันติภาพโลก งานแปลของไทยก็เช่นเดียวกัน จากการที่บริษัทตัวแทนในการค้าขายจากต่างประเทสมีผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาชาวต่างประเทศในการพัฒนาประเทศในทุกๆด้าน  ตลอดจนมีการท่องเที่ยวที่นำเงินรายได้เข้าสู่ประเทศ ทำให้การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ และการแปลที่อาจทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
                การสอนการแปลในระดับมหาวิทยาลัยเป็นการสอนไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้ ดังนั้นผู้แปลจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการแปลได้อย่างถูกต้อง
ความหมายของการแปล
                คือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งโดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการไม่มีการตัดต่อหรือเติมแต่งใดๆทั้งสิ้นอีกทั้งยังควรรักษาให้อยู่ในรูปแบบตรงตามต้นฉบับเดิมอีกด้วยหากทำได้ การแปลเป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ในขอบเขตหนึ่งคือในส่วนที่เป็นความรู้ทางด้านภาษา แต่ในส่วนที่เป็นความคิดสร้างสรรค์นั้นที่จะประดิษฐ์งานแปลไปให้มีคุณภาพนั้น ถือเป็นงานศิลป์ ไม่อาจสอนได้
คุณสมบัติของผู้แปล
เนื่องจากการแปลเป็นทักษะและศิลปะที่มีกระบวนการที่กระทำต่อภาษาผู้แปลจึงควรมีลักษณะดังนี้
1 เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2 สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
3 เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษามีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
4เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดีหรือภาษาศาสตร์
5ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้รักเรียนรักการอ่านและรักการค้นคว้าวิจัยเพราะสิ่งที่สำคัญของการแปลคือการถ่ายทอดความคิดเป็นนามธรรมออกมาโดยใช้ภาษาซึ่งเป็นรูปประธรรม เนื่องจากความคิดเป็นเรื่องซับซ้อน ลึกซึ้งการทำความเข้าใจเป็นเรื่องของการใช้ภูมิปัญญาและความรอบรู้ของแต่ละคน
6 ผู้แปลต้องมีความอดทนและเสียสละ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้แรงความคิดและความจำเนื่องจากการแปลเป็นเรื่องเกี่ยวกับทักษะ ซึ่งต้องมีการฝึกฝนอย่างเข้มข้น และการตรวจแก้ไข จึงจะเกิดทักษะ
จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปล
   จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปลคือสอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม
ได้ว่าผู้เรียนแปลจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1รู้ลึกซึ้งในเรื่องภาษามีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอย่างดีมีความสามารถในการใช้ภาษา
2 รักการอ่าน ค้นคว้า
3 มีความอดทนมีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
4 มีความรับผิดชอบ รู้จักใช้ความคิดของตนเอง
นักแปลที่มีคุณภาพ
นักแปลที่มีคุณภาพ หมายถึง นักแปลที่มีความสามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วนโดยไม่ขาดหรือไม่เกินโดยสรุปว่านักแปลจะต้องมีความรู้ภาษาของต้นฉบับและภาษาที่ใช้เป็นอย่างดีซึ่งควรจะฝึกแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาแม่ดังนั้นแปลไทยจึงให้ความสำคัญในการแปลจากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาแม่หรือภาษาไทย
ลักษณะของงานแปลที่ดี
ลักษณะงานแปลที่ดีควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจนกะทัดรัดความให้รูปประโยคสั้นๆแสดงความคิดเห็นได้อย่างแจ่มแจ้งใช้ภาษาเปรียบเทียบได้อย่างเหมาะสมและรักษาแบบหรือมีสไตล์การเขียนของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้ และมีการปรับแต่งถ้อยคำสำนวนให้เข้ากับสภาพสังคมเพื่อให้ผู้อ่านได้ไปเกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1 เป้าหมายที่สำคัญของการสอนแปลคือการฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆโดยหาข้อมูลด้วยการออกแบบสอบถามและสัมภาษณ์นักแปลอาชีพในสาขาต่างๆเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดในหลักสูตรว่าควรจะสอนอย่างไร
2 การสอนการแปลให้ได้ผลตามทฤษฎีวิชาการแปลเป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับทักษะสองทักษะคือทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจและสามารถจับใจความสำคัญได้สามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้ และต้องมีการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้นจนเกิดความชำนาญ

3 ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวางมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองจากหนังสืออ้างอิงหรือแหล่งวิชาการต่างๆทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการการอ่านข้อความของภาษาหนึ่งแล้วถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาหนึ่งนั้นเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมากเพราะผู้อ่านจะต้องมีความเข้าใจเนื้อเรื่องและภาษาอย่างดีเยี่ยมจึงจะสามารถถ่ายทอดความคิดออกมาได้อย่างครบถ้วนถูกต้องผู้แปลจะต้องมีประสบการณ์และความรู้จากการอ่านการสังเกตและการค้นคว้าเป็นส่วนใหญ่
4. ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพ หรือผู้ใช้บริการการแปลเพื่อเป็นการเตรียมตัวก่อนที่จะไปประกอบอาชีพหรือการไปดูงานการทำงานของนักเรียนในสำนักงาน
จะเห็นได้ว่าการสอนแปลจะบรรลุเป้าหมายได้ต้องอาศัยความร่วมมือของบุคคลหลายฝ่าย
สรุปการแปลที่ดีจะต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้องสวยงามจนกระทั่งผู้อ่านไม่รู้สึกว่าตนกำลังอ่านสำนวนแปลผู้แปลจะต้องมีศิลปะที่จะซ่อนเร้นร่องรอยของการแปลไว้อย่างมิดชิด จนกระทั่งผู้อ่านเกิดความประทับใจเช่นเดียวกับอ่านจากต้นฉบับทีเดียว ดังนั้น ภาษาทั้งสอง คือ ภาษาของต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปล ผู้แปลจะต้องรู้ดีและเข้าใจ
การเลือกบทแปล
                เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล เช่น แนวคิดให้แปลงานเขียนประเภทต่างๆ เช่น แปลข่าว สารคดี บทความทางวิชาการ หรือ นวนิยาย เพื่อให้ได้ซึ่งความหลากหลายของประเภทงานเขียน โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนเองในการแปลได้ และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษา และเนื้อหาไปด้วย เช่น บทแปล ที่ให้ความรู้ทางวิชาการโดยตรง
การแปลกับการตีความจากบริบท
                ความใกล้เคียงและความคิดรวบยอดไม่ใช่การแปลแบบให้มีความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน แต่ให้ดูสถานการณ์ที่เป็นอยู่ของข้อความเช่น it is possible to show a  pictures of dogsor a “dove”เป็นที่น่าสังเกตว่ารูปภาพจะต้องมีความหมายของสิ่งของที่แตกต่างกันต่อคนที่แสดงกันความหมายจากรอบข้างหรือบริบทข้อความ (contaxt)เป็นรูปนามธรรมซึ่งนักภาษาศาสตร์ประยุกต์ยอมรับกันดังนั้นผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพและสามารถสรุปความหมายออกมาได้ในกรณีของคำว่าโดยสามารถหาความหมายได้ตามหลักอรรถศาสตร์ ผู้แปลอาจนึกถึงนก เมื่อเห็นคำว่า Dove
บทบาทของการแปล

                 จะเห็นได้ว่า ในการสื่อสารระบบนี้มีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารกระบวนการสื่อสารนี้จึงเป็นเดือนพิเศษ เพราะในการสื่อสารที่ผู้รับเป็นผู้รับสารคนแรกโดยตรงๆคนเดียวก็ยังอาจจะเกิดการบกพร่อง เข้าใจข้อความผิดพลาดได้ยิ่งการสื่อสารที่จำเป็นต้องมีผู้แปลมากขั้นกลางในการสื่อสารเป็นผู้หนึ่ง ก็จะทำให้ยิ่งมีการผิดพลาดเพิ่มมากขึ้นและเข้าใจไม่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นได้ผู้แปลในฐานะที่เป็นตัวกลางในการส่งสารจึงมีบทบาทสำคัญมากเพราะผู้แปลจะต้องเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารในการส่งสารแบบนี้จะต้องประสบความแตกต่างทั้งในด้านการใช้ภาษาความรู้อาชีพสังคม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning log 2

                Learning log 2
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียน นอกชั้นเรียน...
                จากการเรียนวิชาการแปลในคาบนี้เป็นการคิดทบทวนตัวเองว่า รู้อะไรมา?   เรียนแล้วได้อะไร? ต้องการรู้อะไร? , รู้จักการคิดทักษะในขั้นสูงสุด Higher order thinking skill  เป็นการตอบคำถามจากอาจารย์ ซึ่งในการตอบคำถาม ทำให้ดิฉันได้คิด รู้จักคิดให้ไตร่ตรองที่จะตอบ นอกจากนั้นรู้จักวิธีการเรียนการสอนที่ดีในชั้นเรียน ว่าการเรียนเราควรที่จะมีเป้าหมาย มีการวางแผนและกล้าที่จะแสดงออก การที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนควบคู่กันไปทำให้เรารู้จักวิธีการหาความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น ได้รับประโยชน์มากมาย รู้จักหาวิธีการที่จะไปต่อยอดความรู้ในอนาคตข้างหน้า
                ทั้งนี้การเรียนภาษาอังกฤษคนที่รู้ ควรที่จะหาความรู้เพิ่มเติม รู้ให้มากขึ้นกว่าเดิม คนที่ไม่รู้ควรที่จะพัฒนาตัวเอง อ่าน ฝึกฝน ทำให้ตัวเองรู้ให้ได้ ดังนั้นเราควรมีการประเมิน Solf  - Assessment   การเรียนภาษาเราต้องกล้าแสดงออก กล้าที่จะพูด ตอบคำถาม นำทักษะที่ได้เรียนรู้ เช่นการอ่าน การพูด ไปใช้ในสถานการณ์จริง เรียนภาษาจะต้องฝึกฝนบ่อยๆ นอกจากนี้การเรียนในชั้นเรียนทำให้รู้จักคำว่า KWL และ INTERACTION
                KWL: K=know คุณรู้อะไร?  , W =want คุณต้องการรู้อะไร? , L=Learn คุณได้เรียนรู้อะไร? เป็นการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม  ซึ่งการตอบคำถามเหล่านี้ทำให้เราได้คิดทบทวนตัวเอง กระตือรือร้นที่จะหาตอบคำถามตลอดเวลา โดยการใช้ทักษะขั้นสูงสุด Higher order thinking skill   การตอบคำถามของผู้เรียนสะท้อนกลับในหลายๆด้านและเป็นการโต้ตอบที่เกิดขึ้นระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ซึ่งเรียกว่า ‘interaction’ เป็น 2  ประเภท   1. One ways communication : มีเพียงผู้ส่งสาร ขาดผู้รับสาร กล่าวคือ การเรียนการสอนในห้องเรียนมีเพียงครูที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดเนื้อหาความรู้แต่เพียงผู้เดียว ส่าวนผู้เรียนไม่รับรู้ โต้ตอบน้อย น้อยมากหรือไม่โต้ตอบเลย ทำให้ผู้เรียนไม่เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ 2. Two ways communication : เป็นลักษณะที่ดี เหมาะแก่การเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1. “Whole class; ทุกคนมีส่วนร่วม มีการโต้ตอบระหว่างผู้สอนและผู้เรียนได้เป็นอย่างดี 2. Group work: การทำงานเป็นทีม ,กลุ่ม ทุกคนที่ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 3. Pans work: การทำงานเป็นคู่ คล้าย Group work มีความวุ่นวายน้อยกว่า หากเราเลือกวิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสม สร้างบรรยากาศในการเรียนได้ดีก็จะช่วยส่งผลต่อการเกิดการเรียนรู้ที่ดีทั้งผู้สอนและผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
                การเรียนรู้ในชั้นเรียนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่เราจะพัฒนาตนเองในด้านต่างๆกล้าที่จะแสดงออก กล้าที่จะตอบคำถาม มีทักษะความคิด การทำงานที่ดีร่วมกับผู้อื่นสร้างการเรียนรู้ที่ดี การเรียนควรมีเป้าหมาย คนที่สอบได้ ประสบความสำเร็จคือคนที่วางแผนดี  นอกจากเรียนรู้ในชั้นเรียนที่เราสามารถนำมาพัฒนาตนเองได้แร้ว การเรียนรู้นอกชั้นเรียนเป็นการหาความรู้เพิ่มเติมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อที่จะพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ภาษาที่ดี จากการเรียนวิชาการแปล ได้อ่านเพิ่มเติมเรื่องกลยุทธ์ในการแปล
                ปัจจุบันภาษาอังกฤษถือว่าเป็นภาษาที่สำคัญ มีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบที่หลากหลายลักษณะมากขึ้น มีการสอนภาษาอังกฤษผ่านวิทยุโทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น การเรียนภาษาแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆ การเรียนภาษาต้องมีสองด้านควบคู่กัน คือ ความรู้และทักษะ  -ความรู้เป็นภาคทฤษฎี  -ทักษะเป็นภาคปฏิบัติ (ความชำนาญที่เกิดจากการฝึกฝน) คุณภาพมาตรฐานในเรืองการเรียนการสอนก็ยังคงปัญหาเดิมคือ ส่วนใหญ่ผู้เรียนในทุกระดับยังไม่รู้ภาษาอังกฤษที่เพียงพอที่จะฟัง พูด อ่าน เขียนและแปล ในขั้นที่ใช้การได้อย่างแท้จริง เมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์ คนส่วนใหญ่มักจะมุ่งไปที่เหตุปัจจัยภายนอกตัวผู้เรียน คือ โทษครูผู้สอน   ว่าขาดความรู้ความชำนาญ,โทษตำราเรียน แบบเรียน และสื่อการเรียนการสอนว่าขาดคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน ไม่นำไปสู่การเรียนรู้ให้เกิดทักษะในการใช้ภาษาอย่างแท้จริง ,โทษสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอน การเรียนภาษาอังกฤษเวลาน้อยเกินไป, โทษนโยบายของรัฐ,โทษสภาพแวดล้อมทางสังคม แม้ระบบการศึกษาภาษาอังกฤษจะอ่อนแอ ก็ยังคงมีนักเรียนนักศึกษาบางส่วนที่เก่งภาษาอังกฤษ
                การเรียนภาษาให้ได้ผล มีปัจจัยหลายด้าน แต่สิ่งสำคัญสุดคือผู้เรียนที่เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดดังคำกล่าวที่ว่าภาษานั้นเรียนได้ แต่สอนไม่ได้ผู้เรียนภาษาอังกฤษควรปรับเปลี่ยนคติใหม่ การพึ่งพาต้นเองเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นต้องดำเนินไปอย่างเป็นระบบหรือมีระเบียบแบบแผน โดยอาจมีขั้นตอนสำคัญดังนี้
1.กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย 2. รู้จัก จัดเตรียมและแสวงหาแหล่งเรียนรู้ 3. พัฒนากลยุทธ์การเรียน
4. ลงมือปฏิบัติ และต้องให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงด้วย โดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความถนัด และการจัดสรรเวลา เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้แล้ว เราต้องรู้จัก จัดเตรียมและเสาะหาสื่อ แหล่งความรู้ที่เอื้อต่อการฝึกทักษะด้วยตนเอง โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ,แหล่งท่องเที่ยว,หนังสือพิมพ์รายวัน,ห้องสมุด,ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัย,คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
                นอกจากกำหนดวัตถุประสงค์ แสวงหาแหล่งเรียนรู้ สิ่งสำคัญคือกลยุทธ์ในการเรียนภาษา ซึ่งแต่ละคนจะมีวิธีการเรียนรู้อันเป็นลักษณะเฉพาะตัว กลยุทธ์นี้เป็นพื้นฐานในการเรียนภาษา มีองค์ประกอบ 10 ประการ คือ นักศึกษา การเรียนภาษาจะต้องเริ่มจากความรู้เกี่ยวกับตัวภาษา มีอยู่ 2 ด้าน คำศัพท์และไวยากรณ์  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษา,ความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของภาษา: สื่อสารกับเจ้าของภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ,การเรียนภาษาต้องผ่านการฝึกฝน การเรียนแต่ภาคทฤษฎีโดยไม่ปฏิบัติ อาจทำให้บรรลุเป้าหมาย วิธีการฝึกฝน การอ่าน,การดู,การฟัง,การอ่านออกเสียง,การเรียนรวมถึงการคิด จิตในการรักเรียนภาษา การเรียนภาษาบางเรื่องมีเนื้อหามาก ซับซ้อน ผู้เรียนภาษาที่ดีจึงต้องเป็นคนช่างสังเกตและจดจำ ต้องใส่ใจในเรื่องใหญ่ๆคือไวยากรณ์และคำศัพท์ ภาษาสำเร็จรูป ซึ่งการจดจำมาจากการฝึกฝนหรือทำซ้ำๆอาจมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
                นอกจากนี้ในแต่ละภาษาจะมีสัญนิยม            ข้อตกลงร่วมกันระหว่างคนที่ใช้ภาษาเดียวกันเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกัน ด้วยเหตุนี้การเรียนภาษาจึงต้องอาศัยการเลียนแบบตามขั้นตอน จากนั้นต้องรู้จักดัดแปลงให้เข้ากับวัตถุประสงค์ในการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ อาศัยความรู้เรื่องไวยากรณ์ คำศัพท์และสำนวนโวหารเป็นพื้นฐานสำคัญ การเรียนภาษาในระดับที่สูงขึ้นต้องอาศัยการวิเคราะห์ มี 3 ระดับ ระดับคำศัพท์ : วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำศัพท์และสำนวน,ระดับไวยากรณ์ : วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของวลีและประโยค,ระดับถ้อยความ : วิเคราะห์โครงสร้างความหมายของประโยค ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนภาษาอังกฤษ การเรียนนั้นจากตำราอาจไม่เพียงพอ ผู้เรียนมีความจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อที่จะนำทักษะความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์จริง เพื่อทดสอบและตรวจสอบดูว่าความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้มาเพียงพอหรือไม่ ดังนั้นผู้เรียนภาษาต้องมีการฝึกฝน ช่างสังเกตและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดบกพร่อง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป
                กลยุทธ์   ในการเรียนภาษา จำเป็นต้องนำมาใช่บ่อยๆอย่างสม่ำเสมอ จึงบังเกิดผลเพราะการเรียนภาษาถือเป็นกระบวนการที่ต้องนำเนินไปตลอดชีวิตและสิ่งสำคัญคือตัวเราเองที่ต้องฝึกฝนและหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งในการเรียนในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก ทำให้เราได้คิด ได้ฝึกทักษะต่างๆทั้งการคิด การพูด การแสดงออกและการเรียนรู้ การเรียนการสอนที่ดีในชั้นเรียน


Learning Log 1

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
                โครงสร้าง “structure” เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา เราพูดที่เป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้หรือเข้าใจโครงสร้างภาษา  โครงสร้างเป็นสิ่งกำหนดที่ทำให้เราสื่อสารกันรู้เรื่องในการใช้ภาษาใดก็ตาม ถ้าเราไม่รู้หรือไม่เข้าใจโครงสร้างของภาษาเราก็จะล้มเลวในการสื่อสารและพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้
                ในการแปล ปัญหาที่สำคัญนั้นคือ ปัญหาทางโครงสร้าง การที่เรารู้คำศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่ถ้าหากเราไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นเราก็อาจจะล้มเหลวได้ เพราะอาจตีความผิดหรือถ่ายทอดเป็นภาษาเป้าหมายที่ผิดได้
                จะเห็นได้ว่าผู้แปลจะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของประโยคได้โดยจะเปรียบเทียบให้เห็นประเภทของไวยากรณ์ที่สำคัญและโครงสร้างของประโยคต่างๆในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการไปในอนาคตได้

1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
                ชนิดของคำ  parts of speech เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง  เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสารประโยคถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ไวยากรณ์
                ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category)     ลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำและไม่สำคัญเลยในอีกภาษาหนึ่งก็ได้ เช่น พจน์ เป็นสิ่งสำคัญมากในภาษาอังกฤษ ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงพจน์ก่อนเสมอเมื่อจะใช้คำนามนับได้
1.1       คำนาม
ประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ marker ในภาษาอังกฤษแต่เป็น
ลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย
1.1.1                   บุรุษ person เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ประโยคหมายถึงผู้พูด ผู้ที่ถูกพูดด้วย หรือผู้ที่ถูกพูดถึง  ภาษาอังกฤษแยกรูปสรรพนามตามบุรุษที่ 1 2 และ 3 อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ภาษาอังกฤษยังมีการเติม s  ที่กริยาของประธานที่เป็นบุรุษที่ 3 เอกพจน์บุรุษอื่นไม่มีการเติม     ภาษาไทย ไม่แยกเด่นชัดเพราะบางคำก็ใช้ได้หลายบุรุษสำหรับภาษาไทยนั้นไม่มีการแสดงความต่างเช่นนี้
1.1.2                   พจน์ ( number ) พจน์ เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน ว่าเป็นจำนวนเพียงหรือจำนวนมากกว่าหนึ่ง  ภาษาอังกฤษมีการแบ่งพจน์โดยใช้ตัวกำหนด a/an นำหน้าคำนามเอกพจน์เท่านั้นและแสดงพหูพจน์โดยการเติมหน่อยท้ายศัพท์ –s   ภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวน
1.1.3                    การก (case ) เป็นตัวบ่งชี้คำนามนั้นๆว่ามีบทบาทอะไร คือ สัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไรภาษาอังกฤษ การกของคำนามมักแสดงด้วยการเรียงคำ การกเจ้าของภาษาอังกฤษแสดงโดยการเติม –s ที่หลังคำนาม    ภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำ แต่มีการเรียงคำที่ต่างจากภาษาอังกฤษ
1.1.4                   นานนับได้ กับ นามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns)
ในภาษาอังกฤษแยกความแตกต่างระหว่างคำนามกับคำนาม โดยการใช้ ตัวกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม –s ที่นามนับได้พหูพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an และต้องไม่เติม –s   มีการใช้หน่อยบอกปริมาณหรือปริมาตรกับคำนามที่นับไม่ได้ทำให้เป็นหน่อยเหมือนนับได้  ในภาษาไทยคำนามทุกคำนับได้  เพราะมีลักษณะนามบอกจำนวนของทุกสิ่งได้
1.1.5   ความชี้เฉพาะ ( definiteness ) การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ ตัวที่บ่งชี้ความชี้เฉพาะคือตัวกำหนด ได้แก่ a/an ซึ่งบ่งความไม่ชี้เฉพาะ และ the ซึ่งบ่งความชี้เฉพาะ  ผู้พูดภาษาอังกฤษต้องหัดแยกแยะตั้งแต่เริ่มพูด   ผู้พูดภาษาไทยไม่มีการแยกความแตกต่าง
1.2  คำกริยา
                         เป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อนกว่าการใช้คำนาม เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท
1.2.1      กาล( tense )
                คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอ ทั้งอดีตและปัจจุปัน
-      ภาษาไทยไม่ถือว่ากาลเป็นเรื่องสำคัญ
1.2.2      การณ์ลักษณะ(aspect) คือลักษณะของการกระทำ หรือเหตุการณ์
-              ในภาษาอังกฤษ ได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่อง หรือการณ์ลักษณะดำเนินอยู่และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น
-              ในภาษาไทยจะมีคำว่า กำลัง อยู่ แล้ว ในการแสดงการณ์ลักษณะนี้
1.2.3      มาลา(mood) คือประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร
มีมาลาในภาษาอังกฤษ
ไม่มีมาลาในภาษาไทย
1.2.4      วาจก(voice) เป็นตัวบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยาว่าประธานเป็นผู้กระทำ หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ ในภาษาอังกฤษ ประโยคส่วนใหญ่จะมีกริยาเป็นกรรตุวาจก
ในภาษาไทย คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเอง
กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite vs. non-finite)
ภาษาอังกฤษมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น
                ภาษาไทย กริยาทุกตัวไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน

1.3      ชนิดของคำประเภทอื่น
ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับคำกริยามีความซับซ้อนน้อยกว่านามและกริยา และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่านามกับกริยา
-              คำบุพบทในภาษาอังกฤษสามารถห้อยท้ายวลีหรือประโยคได้
-              ภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้
2. หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
        หน่วยสร้าง  (construction) หน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง หน่วยสร้างในภาษาอังกฤษและภาษาไทยไทยต่างกัน
2.1 หน่วยสร้างนามวลี: ตัวกำหนด (Determiner) + นาม (อังกฤษ) Vs. นาม (ไทย)
                - นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอ
                - นามวลีในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนดแบบภาษาอังกฤษแต่มีตัวบ่งชี้
                2.2 หน่วยสร้างนามวลี: ส่วนขยาย + ส่วนหลัก (อังกฤษ) Vs. ส่วนหลัก + ส่วนขยาย (ไทย)
                - ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก
                - ภาษาไทยวางส่วยขยายไว้หลังส่วนหลัก
                2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions)
                - ภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเดียวที่เด่นชัด
                - ภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ
กริยาที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก ภาษาไทยมักเป็นกรรตุวาจก เช่นสนใจ ตื่นเต้น ส่วนในภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจก
                2.4หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับ ประโยคเน้น topic (ไทย)
                2.5หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb constructon) หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปล

3 .สรุป
        3.1 เรื่องชนิดของคำ(ปัญหาเกิดจากการที่ภาษาหนึ่งมีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาษาไม่มี)
ภาษาอังกฤษมีตัวกำหนด(determiner)นาม(noun)กริยา(verb)คุณศัพท์วิเศษ(adverb)บุพบท(preposition)และสันธาน(conjunction)ไม่มีลักษณะนาม(classifier)และคำลงท้าย(final particle)
ภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษยกเว้นคุณศัพท์และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษได้แก่ลักษณะนามและคำลงท้าย
3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์
สำหรับคำนามภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้บุรุษพจน์การนับได้นับไม่ได้ชี้เฉพาะแปลภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจนสำหรับคำกิริยาภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้การมาลาวาจกกิริยาแท้ไม่แท้แปลภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจนในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษผู้แปลจึงควรสำเหนียกความแตกต่างในเรื่องนี้เป็นพิเศษ
3.3 เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค
     นามวลี นำมารีในภาษาอังกฤษมีตัวกำหนดแบบบังคับแต่ในภาษาไทยตัวกำหนดจะมีหรือไม่มีก็ได้. 
     การวางส่วนขยายในนามวลีมีความแตกต่าง อย่างตรงข้ามกันระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
     หน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจนแปลในภาษาไทยมีหลายรูปแบบและไม่จำเป็นที่จะต้องแปลงหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจกภาษาไทยเสมอไป
ประโยคนี้ประธานกับประโยคนี้เป็นเรื่องประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอแต่ประโยคในภาษาไทยไม่จำเป็นต้องมีประธานและประโยคส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยเรื่อง
หน่วยสร้างกิริยาเรียง--มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ

ข้อสรุปสุดท้ายคือหากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังแสดงมาข้างต้นผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลงและผลงาน

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
                ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง ดังนั้นการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมาย เพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก และวิวัฒนาการที่มีความก้าวหน้าขึ้น คนต่างชาติต่างภาษาในโลกได้มีการสื่อสารกัน การแปลจึงมีความสำคัญมาก เพราะบางคนอาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องมีการติดต่อโดยใช้ภาษาต่างประเทศแต่ตนเองนั้นมีความรู้ด้านนี้ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปล นอกจากนี้ยังมีการแปลที่สร้างชื่อเสียงให้กับตนเองอีกด้วย เช่น การแปลนวนิยายและสารคดีบันเทิงต่างๆ
การแปลในประเทศไทย
                การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราชส่งโกสาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส จึงทำให้มีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก ดังนั้น การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย ตั้งแต่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เริ่มเข้ามา รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยี  นอกจากนี้การแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน และสร้างความเข้าใจระหว่างนานานชาติ ทำให้เกิดสันติภาพโลก งานแปลของไทยก็เช่นเดียวกัน จากการที่บริษัทตัวแทนในการค้าขายจากต่างประเทสมีผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาชาวต่างประเทศในการพัฒนาประเทศในทุกๆด้าน  ตลอดจนมีการท่องเที่ยวที่นำเงินรายได้เข้าสู่ประเทศ ทำให้การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ และการแปลที่อาจทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
                การสอนการแปลในระดับมหาวิทยาลัยเป็นการสอนไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้ ดังนั้นผู้แปลจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการแปลได้อย่างถูกต้อง
ความหมายของการแปล
                คือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งโดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการไม่มีการตัดต่อหรือเติมแต่งใดๆทั้งสิ้นอีกทั้งยังควรรักษาให้อยู่ในรูปแบบตรงตามต้นฉบับเดิมอีกด้วยหากทำได้ การแปลเป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ในขอบเขตหนึ่งคือในส่วนที่เป็นความรู้ทางด้านภาษา แต่ในส่วนที่เป็นความคิดสร้างสรรค์นั้นที่จะประดิษฐ์งานแปลไปให้มีคุณภาพนั้น ถือเป็นงานศิลป์ ไม่อาจสอนได้
คุณสมบัติของผู้แปล
เนื่องจากการแปลเป็นทักษะและศิลปะที่มีกระบวนการที่กระทำต่อภาษาผู้แปลจึงควรมีลักษณะดังนี้
1 เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2 สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
3 เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษามีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
4เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดีหรือภาษาศาสตร์
5ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้รักเรียนรักการอ่านและรักการค้นคว้าวิจัยเพราะสิ่งที่สำคัญของการแปลคือการถ่ายทอดความคิดเป็นนามธรรมออกมาโดยใช้ภาษาซึ่งเป็นรูปประธรรม เนื่องจากความคิดเป็นเรื่องซับซ้อน ลึกซึ้งการทำความเข้าใจเป็นเรื่องของการใช้ภูมิปัญญาและความรอบรู้ของแต่ละคน
6 ผู้แปลต้องมีความอดทนและเสียสละ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องใช้แรงความคิดและความจำเนื่องจากการแปลเป็นเรื่องเกี่ยวกับทักษะ ซึ่งต้องมีการฝึกฝนอย่างเข้มข้น และการตรวจแก้ไข จึงจะเกิดทักษะ
จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปล
   จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปลคือสอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม
ได้ว่าผู้เรียนแปลจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1รู้ลึกซึ้งในเรื่องภาษามีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอย่างดีมีความสามารถในการใช้ภาษา
2 รักการอ่าน ค้นคว้า
3 มีความอดทนมีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
4 มีความรับผิดชอบ รู้จักใช้ความคิดของตนเอง
นักแปลที่มีคุณภาพ
นักแปลที่มีคุณภาพ หมายถึง นักแปลที่มีความสามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วนโดยไม่ขาดหรือไม่เกินโดยสรุปว่านักแปลจะต้องมีความรู้ภาษาของต้นฉบับและภาษาที่ใช้เป็นอย่างดีซึ่งควรจะฝึกแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาแม่ดังนั้นแปลไทยจึงให้ความสำคัญในการแปลจากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาแม่หรือภาษาไทย
ลักษณะของงานแปลที่ดี
ลักษณะงานแปลที่ดีควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจนกะทัดรัดความให้รูปประโยคสั้นๆแสดงความคิดเห็นได้อย่างแจ่มแจ้งใช้ภาษาเปรียบเทียบได้อย่างเหมาะสมและรักษาแบบหรือมีสไตล์การเขียนของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้ และมีการปรับแต่งถ้อยคำสำนวนให้เข้ากับสภาพสังคมเพื่อให้ผู้อ่านได้ไปเกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1 เป้าหมายที่สำคัญของการสอนแปลคือการฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆโดยหาข้อมูลด้วยการออกแบบสอบถามและสัมภาษณ์นักแปลอาชีพในสาขาต่างๆเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดในหลักสูตรว่าควรจะสอนอย่างไร
2 การสอนการแปลให้ได้ผลตามทฤษฎีวิชาการแปลเป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับทักษะสองทักษะคือทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจและสามารถจับใจความสำคัญได้สามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้ และต้องมีการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้นจนเกิดความชำนาญ

3 ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวางมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองจากหนังสืออ้างอิงหรือแหล่งวิชาการต่างๆทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการการอ่านข้อความของภาษาหนึ่งแล้วถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาหนึ่งนั้นเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนมากเพราะผู้อ่านจะต้องมีความเข้าใจเนื้อเรื่องและภาษาอย่างดีเยี่ยมจึงจะสามารถถ่ายทอดความคิดออกมาได้อย่างครบถ้วนถูกต้องผู้แปลจะต้องมีประสบการณ์และความรู้จากการอ่านการสังเกตและการค้นคว้าเป็นส่วนใหญ่
4. ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพ หรือผู้ใช้บริการการแปลเพื่อเป็นการเตรียมตัวก่อนที่จะไปประกอบอาชีพหรือการไปดูงานการทำงานของนักเรียนในสำนักงาน
จะเห็นได้ว่าการสอนแปลจะบรรลุเป้าหมายได้ต้องอาศัยความร่วมมือของบุคคลหลายฝ่าย
สรุปการแปลที่ดีจะต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้องสวยงามจนกระทั่งผู้อ่านไม่รู้สึกว่าตนกำลังอ่านสำนวนแปลผู้แปลจะต้องมีศิลปะที่จะซ่อนเร้นร่องรอยของการแปลไว้อย่างมิดชิด จนกระทั่งผู้อ่านเกิดความประทับใจเช่นเดียวกับอ่านจากต้นฉบับทีเดียว ดังนั้น ภาษาทั้งสอง คือ ภาษาของต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปล ผู้แปลจะต้องรู้ดีและเข้าใจ
การเลือกบทแปล
                เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล เช่น แนวคิดให้แปลงานเขียนประเภทต่างๆ เช่น แปลข่าว สารคดี บทความทางวิชาการ หรือ นวนิยาย เพื่อให้ได้ซึ่งความหลากหลายของประเภทงานเขียน โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนเองในการแปลได้ และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษา และเนื้อหาไปด้วย เช่น บทแปล ที่ให้ความรู้ทางวิชาการโดยตรง
การแปลกับการตีความจากบริบท
                ความใกล้เคียงและความคิดรวบยอดไม่ใช่การแปลแบบให้มีความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน แต่ให้ดูสถานการณ์ที่เป็นอยู่ของข้อความเช่น it is possible to show a  pictures of dogsor a “dove”เป็นที่น่าสังเกตว่ารูปภาพจะต้องมีความหมายของสิ่งของที่แตกต่างกันต่อคนที่แสดงกันความหมายจากรอบข้างหรือบริบทข้อความ (contaxt)เป็นรูปนามธรรมซึ่งนักภาษาศาสตร์ประยุกต์ยอมรับกันดังนั้นผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพและสามารถสรุปความหมายออกมาได้ในกรณีของคำว่าโดยสามารถหาความหมายได้ตามหลักอรรถศาสตร์ ผู้แปลอาจนึกถึงนก เมื่อเห็นคำว่า Dove
บทบาทของการแปล

                 จะเห็นได้ว่า ในการสื่อสารระบบนี้มีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารกระบวนการสื่อสารนี้จึงเป็นเดือนพิเศษ เพราะในการสื่อสารที่ผู้รับเป็นผู้รับสารคนแรกโดยตรงๆคนเดียวก็ยังอาจจะเกิดการบกพร่อง เข้าใจข้อความผิดพลาดได้ยิ่งการสื่อสารที่จำเป็นต้องมีผู้แปลมากขั้นกลางในการสื่อสารเป็นผู้หนึ่ง ก็จะทำให้ยิ่งมีการผิดพลาดเพิ่มมากขึ้นและเข้าใจไม่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นได้ผู้แปลในฐานะที่เป็นตัวกลางในการส่งสารจึงมีบทบาทสำคัญมากเพราะผู้แปลจะต้องเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารในการส่งสารแบบนี้จะต้องประสบความแตกต่างทั้งในด้านการใช้ภาษาความรู้อาชีพสังคม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี