วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Text Types

Text types
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่นิยมใช้ในการสื่อสารกันอยู่ทั่วโลก ซึ่งผู้คนทั่วโลกใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ช่วยให้คนทั่วโลกสามารถติดต่อกันได้รู้เรื่องหรือมีความเข้าใจที่ตรงกัน ปัจจุบันประเทศไทยพัฒนาด้านภาษาอังกฤษโดยการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ซึ่งจะช่วยคนไทยสามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวหรืออาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ การเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ที่จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การเขียนภาษาอังกฤษก็เป็นอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญในการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ ดังนั้นการเขียนภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญอย่างเห็นได้ชัดนักเรียนควรหันมาใส่ใจกับการเขียนมากยิ่งขึ้น โดยการเขียนนั้นมีรูปแบบของการเขียนต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์
                รูปแบบการเขียน (Form of writing) หมายถึง วิธีการเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน ซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีคุณลักษณะและมีองค์ประกอบหลักที่ใช้การเขียนสำหรับรูปแบบ  รูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานเขียน เช่น Narrative , Descriptive , Directive , Expository และ Argumentative ในงานเขียนแต่ละชิ้น ผู้เขียนจะเขียนให้สอดคล้องกับรูปแบบการเขียนและวัตถุประสงค์ของงานทุกครั้ง ไม่หลุดประเด็น มีใจความเดียวทั้งเรื่อง มีการใช้คำและภาษาที่น่าสนใจ
จุดประสงค์ในการเขียน
          จุดประสงค์ในการเขียนมีหลายประการตามความต้องการของผู้เขียนซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการเขียน จุดประสงค์ในการเขียนโดยทั่วไปมีผู้รวบรวมไว้ดังต่อไปนี้
1.    เพื่อเล่าเรื่อง บอกเรื่องราวต่างๆจากประสบการณ์
2.    เพื่อแสดงความคิดเห็นและแนะนำ 3.    เพื่ออธิบายให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เช่น อธิบายเรื่องธรรมชาติ อธิบายเหตุผล อธิบายการแสดงหรือพฤติกรรมของบุคคล  อธิบายวิธีการ/การปฏิบัติ  อธิบายวิธีทำตามขั้นตอน
4.    เพื่อจดบันทึกการฟัง การดูและการอ่าน จากสื่อต่างๆ
5.    เพื่อการวิเคราะห์ เช่น แสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ เขียนวิเคราะห์ข่าว เขียนแสดงข้อเท็จจริงและความคิดเห็น
6.    เพื่อการวิจารณ์ เช่น วิจารณ์ตัวละคร/บทละคร/บทความ วิจารณ์เรื่องจากภาพ
 7.    เพื่อสร้างจินตนาการและความบันเทิง
8.    เพื่อการโฆษณา ชักจูงใจ เชิญชวน และประกาศแจ้งความ เช่น โฆษณาสินค้า โฆษณาหาเสียง  คำอวยพร บัตรเชิญในโอกาสต่างๆ ประกาศของทางราชการ
9.    เพื่อประโยชน์ในการเรียน เช่น เขียนสรุปความ เขียนย่อความ เขียนย่อเรื่อง เขียนสรุปความจากการ ฟังหรือการอ่าน
10.  เพื่อการใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น จดหมาย การกรอกแบบรายการต่างๆ
ประเภทของการเขียน             
          1.  การเขียนบรรยาย (Description)  มีรูปแบบการเขียน คือ รายงานการสังเกตและข้อเขียนเชิงบรรยาย เป็นข้อเขียนที่ให้รายละเอียดของคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง ข้อเขียนแบบนี้จะใช้อยู่ในข้อเขียนแบบอื่นๆด้วย ซึ่งจะกล่าวถึง อะไร ที่ไหน เมื่อไร ดูเป็นอย่างไร เสียงเป็นอย่างไร กลิ่นเป็นอย่างไร ให้ความรู้สึกอย่างไร มีความเป็นพิเศษเพราะอะไร เป็นต้นโดยทั่วไป จึงใช้รายละเอียดของประสาทสัมผัส  เพื่อให้ผู้อ่านสนใจเค้าโครงเรื่องและแก่นของเรื่องที่บรรยาย เช่น บรรยายถึงต้นไม้ในสวนหลังบ้านของฉัน การไปเยี่ยมผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาล หรือนักกีฬาทำอย่างไรเพื่อไปสู่โอลิมปิก การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
  1)    ตอนนำ (Introduction) เป็นข้อความทั่วไปเกี่ยวกับเรื่อง ได้แก่ ใคร/อะไร เมื่อไร  ที่ไหน
 2)    ตอนรายละเอียด (Detail) เป็นการบรรยายคุณลักษณะ
   -   สำหรับบุคคล กล่าวถึง เขาดูเป็นอย่างไร เขาทำอะไร เขาแสดงออกอย่างไร อะไรที่เขาชอบ/ไม่ชอบ
   -   สำหรับสิ่งของ กล่าวถึง สิ่งนั้นดูเป็นอย่างไร ได้ยิน-รู้สึก-ได้กลิ่น-รส เป็นอย่างไร พบที่ไหน มันทำอะไร ใช้อย่างไร อะไรที่เป็นคุณสมบัติพิเศษ
          2.  การเขียนเล่าเรื่อง (Narrative) เป็นข้อเขียนที่เล่าถึงเรื่องต่างๆที่ให้ความบันเทิง กระตุ้น หรือสอน มุ่งที่จะให้ผู้อ่านเกิดความตั้งใจ และคงความสนใจไว้ได้นาน เรื่องมีหลายประเภท ได้แก่ ละครเหมือนชีวิตจริง เรื่องเชิงจินตนาการ เรื่องผจญภัย นิยายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่องลึกลับ เทพนิยาย นิทาน ตำนาน เป็นต้น การเขียนแบ่งออกเป็น 4 ตอน ได้แก่
      1)    ตอนที่เป็นการเกริ่น (Orientation) กล่าวถึง ฉากและตัวละคร ซึ่งจะรวม         การกล่าวถึง ใครหรืออะไร ที่ไหน และ เมื่อไร
     2)    ตอนที่กล่าวถึงความยุ่งยาก (Complication) เป็นการกล่าวถึงความยากลำบากหรือปัญหา ที่ทำให้การดำรงชีวิตหรือความสะดวกสบายของตัวละครเกิดความยุ่งยากขึ้น และก่อให้เกิดลำดับของเหตุการณ์ที่น่าสนใจตามมา
     3)    ลำดับเหตุการณ์ (Sequence of events) ซึ่งอาจประกอบด้วย
       -  การบรรยายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลำดับแรก…… ต่อมา.....   ภายหลัง..... หลังจากนั้น......
       -  ลำดับเหตุการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นกับตัวละครแต่ละตัว ในขณะที่..... ในขณะ..... ในระหว่างนั้น..... เมื่อ
       - การผสมผสานของลำดับ
       - ความยุ่งยากอื่นๆ
       4)  การแก้ปัญหา (Resolution) เป็นการกล่าวถึงผลสุดท้ายของเหตุการณ์ ซึ่งเป็นที่ปัญหาได้รับการแก้ไข
          3.  การเขียนเล่าเหตุการณ์ (Recount) เป็นข้อเขียนที่เล่าถึงเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่ผ่านมา โดยมีการเรียงลำดับตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
         1)    ตอนนำ (Introduction) เป็นการกำหนดฉาก โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับใคร/อะไร เมื่อไร ที่ไหน และทำไม
       2)    เหตุการณ์ (Events) กล่าวถึง อะไรที่เกิดขึ้นตามลำดับของเวลา โดยใช้คำเกี่ยวกับเวลา ได้แก่ แรกสุด ต่อมา ในไม่ช้า ระหว่าง ภายหลัง ต่อมาภายหลัง ในที่สุด สิ่งสุดท้ายรวมทั้งคำคุณศัพท์ ข้อความที่เขียนเป็นเรื่องของอดีตกาล
       3)    ตอนสรุป (Conclusion) เป็นการกล่าวถึงข้อคิดเห็นส่วนตัวว่า ผู้เขียนคิดอะไร รู้สึกอย่างไร หรือตัดสินอะไรเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การเขียนมีลักษณะเป็นส่วนตัว จึงใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง
          4.  การเขียนอภิปราย (Discussion) เป็นข้อเขียนที่กล่าวทั้งข้อดีและข้อเสียของหัวข้อปัญหา โดยแสดงเหตุผลที่สนับสนุนและคัดค้านในเรื่องนั้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน คือ
        1)    ตอนที่ว่าด้วยหัวข้อปัญหา (Issue) เป็นการแนะนำหัวข้อปัญหาหรือหัวข้อเรื่องว่า คืออะไร กล่าวถึงกลุ่มที่ต่างกัน มีความเห็นต่างกัน อาจแนะนำกลุ่มที่สนับสนุนและกลุ่มที่คัดค้าน
         2)    ตอนที่ว่าด้วยเหตุผล (Argument) กล่าวถึงประเด็นและหลักฐานของกลุ่มที่สนับสนุนและคัดค้าน ดังนี้
                 (1)  กลุ่มที่สนับสนุน
                       ความเห็นข้อแรก........ ใคร เขาคิดอะไร เหตุใด
                        ความเห็นข้อที่สอง.......ใคร เขาคิดอะไร เหตุใด
                  (2)  กลุ่มที่คัดค้าน
                          ความเห็นข้อแรก....... ใคร   เขาคิดอะไร    เหตุใด
                          ความเห็นข้อที่สอง..... ใคร  เขาคิดอะไร    เหตุใด
           3)    ตอนสรุป เป็นการสรุปความถึงเหตุผลและผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะอะไร เพราะเหตุใด การเขียนมีการใช้คำนาม สรรพนาม และคำที่เชื่อมถึงเหตุผลที่แสดงถึงปัจจุบันกาลหรืออดีตกาล ลักษณะการเขียนต้องเป็นปรนัยที่ยุติธรรม ใช้สรรพนามบุรุษที่สองหรือที่สาม
          5. การเขียนเชิงอธิบาย (Exposition) / การเขียนโต้เถียง (Argument) เป็นการเขียนที่ต้องแสดงเหตุผลในสองด้าน เป็นการเขียนเพื่ออธิบายหรือโต้เถียง โดยที่ทั้ง 2 ด้านต้องแสดงเหตุผลโต้แย้งเพื่อสนับสนุนเหตุผลในการโต้แย้ง แต่ควรมีความสมดุลในเหตุและผลที่จะนำเสนอโดยอาศัยต้องใช้ข้อมูล สถิติและข้อคิดเห็นสนับสนุนประกอบ หรือทั้งการตรวจสอบหรืออธิบายว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยอาศัยความคิดเห็นส่วนบุคคลมากกว่าหลักฐานสนับสนุนความจริงจากบุคคลหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ จะเป็นการวิเคราะห์และแสดงให้เห็นสภาพความเป็นจริง อธิบายความรู้สึกและวิเคราะห์จากความจริงที่ปรากฏอยู่
          6. การเขียนเกี่ยวกับวิธีการ (Procedure) เป็นข้อเขียนที่บอกให้ทราบว่า จะสร้างหรือทำ สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้อย่างไร การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
      1)    เป้าประสงค์ (Goal) เป็นการบอกถึงสิ่งที่จะสร้างหรือทำ ซึ่งอาจรวมไปถึงการบรรยายสั้นๆ ถึงผลผลิตที่จะเกิดขึ้น
       2)    สิ่งที่ต้องการใช้ (Requirements) กล่าวถึงรายการสิ่งที่ต้องการใช้ในการกระทำ ได้แก่
                -  ส่วนประกอบในการทำ
                -  เครื่องใช้ต่างๆ
                 -  วัสดุ
                 -  เครื่องมือ
       3)    ขั้นตอน (Steps) กล่าวถึงขั้นตอนการทำตามลำดับ อาจใช้ภาพหรือแผนผังประกอบ การสอนเริ่มด้วยคำกริยาและอธิบายให้ชัดเจนว่า ทำอะไรและทำอย่างไรโดยทั่วไปใช้สรรพนามบุรุษที่สองหรือสาม
          7.  การเขียนรายงานสารสนเทศ (Information report) เป็นข้อเขียนที่ให้สารสนเทศโดยกล่าวถึงข้อเท็จจริง โดยทั่วไปใช้บรรยายเกี่ยวกับประเภทหรือกลุ่มของคน สัตว์ สิ่งของ หรือ สถานที่ การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
        1)    ตอนนำ (Introduction) กล่าวถึงนิยามหรือการจัดประเภท หรือคำบรรยายสั้นๆ
       2)    ตอนบรรยาย (Description) กล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นเป็นย่อหน้าๆไป อาจใช้ภาพถ่าย ภาพวาด แผนที่หรือแผนผัง ประกอบด้วย หัวข้อย่อย ในการบรรยายที่ใช้กันมาก ได้แก่
(1)  เรื่องเกี่ยวกับสัตว์ ประกอบด้วย รูปร่างภายนอก ที่อยู่อาศัย การเคลื่อนไหว อาหา พฤติกรรม วงจรชีวิต
(2)  เรื่องเกี่ยวกับบุคคล ประกอบด้วย ชื่อ อายุ รูปร่างภายนอก บุคลิกภาพ อาชีพ ความสำเร็จประวัติความเป็นมา
(3)  เรื่องเกี่ยวกับสิ่งของ ประกอบด้วย ลักษณะภายนอก ส่วนต่างๆ หน้าที่ ลักษณะเฉพาะ การใช้ประโยชน์ คุณค่า
(4)  เรื่องเกี่ยวกับสถานที่ ประกอบด้วย ตำแหน่งที่อยู่ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ประชากร วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
           3)    ตอนสรุป (Conclusion) เขียนสรุปความหรือข้อคิดเห็น เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริง จึงไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึก ใช้คำที่มีความหมายกว้างๆและใช้สรรพนามบุรุษที่สาม
         8.  การเขียนอธิบาย (Explanation) เป็นข้อเขียนที่อธิบายว่าบางสิ่งบางอย่างทำงานอย่างไรหรือบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมจึงเกิดขึ้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
        1)    ตอนนำ (Introduction) เป็นข้อความทั่วไปเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องอาจประกอบด้วยนิยามหรือคำถาม คำบรรยายสั้นๆ
      2)    การอธิบาย เป็นชุดของข้อความที่อธิบายตามลำดับในเรื่อง
                (1)  บางสิ่งบางอย่างทำงานอย่างไร ซึ่งอาจประกอบด้วย ใช้ทำอะไร แต่ละส่วนทำอะไร แต่ละส่วนทำงานร่วมกันอย่างไร ใช้ประโยชน์ได้อย่างไร หรืออาจอธิบายในเรื่อง
                (2)  ทำไมบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น ซึ่งอาจประกอบด้วย เริ่มต้นอย่างไร ทำไม อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป ทำไม อะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนั้น ทำไม อะไรจะเกิดขึ้นในท้ายที่สุด ทำไม
       3)    ตอนสรุป เป็นการสรุปความหรือให้ข้อคิดเห็น อาจประกอบด้วยการสรุปความหรือข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ และประวัติความเป็นมา
               การเขียนแต่ละประเด็นสำคัญให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ คำที่ใช้ได้แก่ ศัพท์เทคนิคหรือศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ คำกริยา และคำสันธาน ข้อเขียนจะเป็นปัจจุบันกาล ไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกและใช้สรรพนามบุรุษที่สาม
          9.  การเขียนแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกตอบสนอง ( Personal Response) เป็นข้อเขียนที่ผู้เขียนบรรยายถึงปฏิกิริยาตอบสนองต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ใช้สำหรับการวิจารณ์ การให้ข้อมูลย้อนกลับ หรือการประเมิน เพื่อแสดงถึงความคิด หรือความรู้สึกต่อสิ่งนั้นๆ ว่าอะไรเกิดขึ้น มีใครเกี่ยวข้องบ้าง ทำไมจึงมีความพิเศษในเรื่องนั้น จะโต้ตอบอย่างไร เรื่องนั้นมีผลอย่างไรต่อผู้เขียน ผู้เขียนรู้สึกอย่างไร และผู้เขียนคิดอะไรอยู่ การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
         1)    ตอนที่เป็นการเกริ่นนำ (Orcintation) เป็นการระบุเรื่องว่าอะไร ใคร เมื่อไร และ   ที่ไหน
         2)    รายละเอียด (Details) เป็นการบรรยายเรื่องและปฏิกิริยาตอบสนองของผู้เขียนต่อเรื่องนั้น
   (1)  การบรรยายเรื่อง อาจประกอบด้วย ตัวบุคคลหรือตัวละครที่เกี่ยวข้อง สรุปว่าอะไรเกิดขึ้น มีลักษณะสำคัญอะไร
(2)  การตอบสนอง อาจประกอบด้วย เรื่องนั้นทำให้ผู้เรียนรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไรเกี่ยวกับตัวละครและเหตุการณ์ ผู้เขียนได้เรียนรู้อะไร
          3)    การสรุป กล่าวถึงการประเมินตอนสุดท้าย หรือข้อเสนอแนะ การเขียนจะใช้คำที่เป็นการบรรยาย และคำที่เกี่ยวกับการประเมินในลักษณะอดีตกาลและรวมถึงอนาคตกาล
                นอกจากนี้แล้ว รูปแบบของการเขียนยังมีที่มาจากอีกหลายแห่ง ซึ่งได้แก่
         1. การเขียนจดหมายบุคคล (The Personal Letter) จดหมายคือสารในรูปข้อเขียนที่มีหลายชนิด เช่น การเขียนบอกข่าวหรือเล่าเรื่องที่พบเห็น การเขียนเสนอความคิดหรือความรู้สึก การเขียนข้อร้อง เป็นต้น               การเขียนแบ่งเป็น 4 ตอนได้แก่
1)    ผู้ส่ง (Sender) แจ้งที่อยู่หัวจดหมายสำหรับการส่งจดหมายตอบกลับ อาจรวมถึงหมายเลขโทรศัพท์และอีเมล์
     2)    ถึงผู้รับ (To) ประกอบด้วย วันที่ ชื่อ ที่อยู่ และการทักทายโดยใช้ชื่อของผู้รับ
     3)    สาร (Message) รายละเอียดของสารประกอบด้วย ตอนนำ สาร และความเห็น โดยเขียนอย่างสุภาพ
     4)    จากผู้ส่ง (From) ประกอบด้วยคำลงท้าย ชื่อผู้ส่ง ตำแหน่ง (ถ้าเป็นจดหมายทางการ)
          2.  การเขียนซองจดหมาย (The Envelope) ในการเขียนจ่าหน้าซองจดหมายนั้น จะมีข้อมูลผู้รับและผู้ส่งที่ระบุไว้ชัดเจน   การเขียนแบ่งเป็น 2 ตอนได้แก่
   1)    ผู้ส่ง (Sender) แจ้งที่อยู่หัวจดหมายสำหรับการส่งจดหมายตอบกลับ อาจรวมถึงหมายเลขโทรศัพท์และอีเมล์
   2)    ถึงผู้รับ (To) ประกอบด้วย วันที่ ชื่อ ที่อยู่
         3.  การเขียนจดหมายทั่วไป (The Formal Letter) จดหมายคือสารในรูปข้อเขียนที่มีหลายชนิด เช่น การเขียนบอกข่าวหรือเล่าเรื่องที่พบเห็น การเขียนเสนอความคิดหรือความรู้สึก การเขียนข้อร้อง เป็นต้น               การเขียนแบ่งเป็น 4 ตอนได้แก่
     1)    ผู้ส่ง (Sender) แจ้งที่อยู่หัวจดหมายสำหรับการส่งจดหมายตอบกลับ อาจรวมถึงหมายเลขโทรศัพท์และอีเมล์
      2)    ถึงผู้รับ (To) ประกอบด้วย วันที่ ชื่อ ที่อยู่ และการทักทายโดยใช้ชื่อของผู้รับ
      3)    สาร (Message) รายละเอียดของสารประกอบด้วย ตอนนำ สาร และความเห็น โดยเขียนอย่างสุภาพ
      4)    จากผู้ส่ง (From) ประกอบด้วยคำลงท้าย ชื่อผู้ส่ง ตำแหน่ง (ถ้าเป็นจดหมายทางการ)
          4. การเขียนบรรณาธิการ (Letter to the Editor) เป็นการเขียนเพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ในเนื้อหาที่นำมาเขียนเรียบเรียง นำรายการของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ผู้ทำรายงานได้ใช้ประกอบการเขียนรายงาน ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลาย ๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่
         5. การเขียนโปสการ์ด (Postcards) คือ ภาพถ่ายทั่วไปที่นิยมใช้เป็นของที่ระลึกในวันหยุดต่าง ๆ เพราะจะหาซื้อได้ง่าย ในราคาที่ถูกแสนถูกแล้ว โปสการ์ดรูปสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆทั้งในและนอกประเทศยังสามารถเก็บเป็นของสะสม ของที่ระลึก ตัวแทนหรือสื่อที่ใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวความทรงจำต่างๆ ณ ช่วงเวลาหนึ่งได้เป็นอย่างดีอีกด้วย มีหลักการง่ายๆ 3 อย่างด้วยกัน อันได้แก่
1) ข้อความสั้นกระชับ (short)
2) เนื้อหาเป็นไปในเชิงบวก (positive)
3) ใจความสามารถคาดเดาได้ในที (predictable in their content)
โดยคุณสามารถเลือกใช้คำใดคำหนึ่งของคำคุณศัพท์ (adjective) เพื่อบรรยายความรู้สึกส่วนตัว
                6. การเขียนเพื่อเชิญชวน (Invitations) การเชื้อเชิญเป็นการแสดงถึงความเป็นผู้มีนํ้าใจ เพื่อให้เข้าร่วมกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย อาจจะเป็นการเชื้อเชิญธรรมดา หรือสุภาพหรือเกรงใจ ซึ่งถือเป็นมรรยาททางสังคม และมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสนทนา โดยจำเป็นต้องมีรายละเอียดงาน ว่า จัดงานอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร การแต่งกายอย่างไร และข้อมูลการติดต่อกลับอย่างชัดเจน
                7. การเขียนไดอารี่   (Diary Extract) เป็นการเขียนที่บันทึกเกี่ยวกับความรู้สึกของบุคคลและแสดงความรู้สึกต่าง ๆ โดยมีหลักการดังนี้
                1) เขียนชื่อเจ้าของไดอารี่
                2) เขียนวัน วันที่ เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น
                3) ใช้ Present tense ในการเขียนเรื่องที่เกิดในตอนนั้น และใช้ Past tense ในการเขียนเรื่องราวที่ป่านไปแล้ว
                4) เขียนเป็นพารากราฟสั้น ๆ โดยใช้ประโยคทั่วไป ใช้ภาษาที่แสดงถึงอารมณ์ ความคิดเห็น และความรู้สึก
                8. การเขียนการสัมภาษณ์ (Interviews/ Dialogues) การเขียนสัมภาษณ์ เป็นโครงสร้างการพูดคุยปรึกษาหารือระหว่างคนสองคน โดยที่คนหนึ่งเป็นผู้ถามและอีกคนจะเป็นผู้ตอบ จะมีการแนะนำตัวเองก่อนการสัมภาษณ์ ซึ่งจัดทำขึ้นมาเพื่อทดสอบความรู้ การเตรียมตัว ในการตอบ ว่าจะตรงประเด็นหรือไม่อย่างไร
                9. การเขียนสคริป (Script Writing) สคริปจะเป็นไปตามรูปแบบของการสนทนา ซึ่งจะมีรายละเอียดเป็นไปตามการสรุป เวลาและสถานที่ ชื่อของตัวบุคคลในการสรุป ฉาก จุดเด่น และสรุปผล มีฝ่ายทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการให้ความสะดวก ทั้ง เครื่องแต่งกาย ดนตรี เทคนิค แสง และอื่นๆ อีกมาย
                10.  การเขียนรายงานข่าว (A Newspaper Report) เป็นการเขียนข่าวในสิ่งที่เป็นความจริง มีหัวข่าวที่ชัดเจน และแบ่งเนื้อหาเป็นย่อหน้าอย่างเหมาะสม จะเป็นการสรุปสั้น ๆ ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร โดยใช้ present และ past tense ในการรายงาน
                11. การเขียนบทความสารคดี (Feature Article) เป็นบทความที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ชักชวน หรือ บันเทิง เขียนแบบสารคดีมีการวิเคราะห์วิจารณ์ควบคู่กันไป ทำให้มีสาระมากกว่าบันเทิง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเอาข้อเท็จจริงที่มีสารมาเขียนในรูปแบบของสารคดี ในย่อหน้าแรกจะเป็นการเกริ่นแนะนำเกี่ยวกับหัวเรื่อง ย่อหน้าที่สองจะเป็นเนื้อหารายละเอียด จะมีการอธิบายและใช้ภาษาที่จินตนาการได้ สุดท้ายในการสรุปจะเป็นการพูดถึงเนื้อหาทั้งบทความ
                12. การเขียนบทบรรณาธิการ (Editorial) บทความที่แสดงทัศนะที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น บทความนี้อยู่ในความดูแลของกองบรรณาธิการที่จะมอบหมายให้บรรณาธิกรเป็นผู้เขียน หรือมอบหมายให้ผู้เขียนคนใดเขียนประจำหรือหมุนเวียนกันไปตามความถนัดของนักเขียนแต่ละคนก็ได้ ทั้งนี้ แนวคิดที่นำเสนอในบทบรรณาธิการถือเป็นจุดยืนทางความคิดหรือแสดงนโยบายหลักของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น
                13. การเขียนจุลสาร (Pamphlet) จุลสาร อาจจะมีการข้อมูลที่ให้ความรู้ สามารถชักจูงได้ หรือ เกี่ยวกับการเรียนการสอน จะความหมายที่ชัดเจน เนื้อหาสั้นกระชับ มีรูปภาพประกอบได้ เป็นสื่อที่จุงใจให้ผู้อ่านเกิดความรู้
                14. การเขียนโฆษณา (Advertising) คือ การเสนอขายสินค้า บริการ หรือความคิดโดยการใช้สื่อ เพื่อให้ เข้าถึงลูกค้าจํานวนมากได้ ในเวลาอันรวดเร็ว สื่อโฆษณาที่สําคัญประกอบด้วย โทรทัศน์ วิทยุหนังสือพิมพ์ นิตยสารป้ายโฆษณา ฯลฯ ผู้เขียนควรออกแบบโฆษณาให้น่าสนใจ น่าเชื่อถือ อธิบายสินค้าและโปรโมชั่นอย่างชัดเจน
                15.การเขียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Communication) หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อาจอยู่ในรูปของ สื่อบันทึกข้อมูลประเภทสารแม่เหล็กเช่น แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (floppy disk) และสื่อประเภทจานแสง(optical disk)บันทึกอักขระแบบดิจิตอลไม่สามารถอ่านได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บันทึกและอ่านข้อมูล เป็นสื่อการเรียนการสอนที่เกิดจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนจะออกมาในลักษณะของสื่อประสม หรือมัลติมีเดีย (Multimedia) แสดงผลออกมาหลายรูปแบบตามที่โปรแกรมไว้ เช่น มีเสียง เป็นภาพเคลื่อนไหว สามารถให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ ปัจจุบันสื่อประเภทนี้มีหลายลักษณะ ดังนี้
      - E-mail เป็นจดหมายสั้นทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเป็นข้อความ จดหมาย เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ เป็นที่นิยมใช้ในการติดต่อสื่อสาร
      - Tax เป็นเอกสาร ส่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ หรือที่เรียกกันว่า FAX สามารถส่งจากคอมพิวเตอร์หรือมือถือก็ได้
      - SMS เป็นบริการข้อความสั้นส่งผ่านโทรศัพท์มือถือ
                16. การเขียนสรุป (Summary/Precis Writing) เป็นการเขียนสรุปที่ควรใช้ความระมัดระวังมากที่สุดในรูปแบบการเขียนทั้งหมด
                17. การเขียนบทกวี (Poetry Writing) เป็นการเขียนที่มีรูปแบบที่กระตุ้นการแสดงออก อิสระในการเขียน มีหลายประเภทได้แก่ The word poem, The syllable poem , Haiku , The shape poem , Rhyming poetry , The limerick , Conversation of prose into poetry.

จากรูปแบบการเขียนที่กล่าวในข้างต้นนั้น จะเห็นได้ถึงความแตกต่างของการเขียนแต่ละประเภทได้อย่างชัดเจน การเขียนเป็นการสื่อสารด้วยอักษร ถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ของผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่เป็นทั้งศิลป์และศาสตร์ กล่าวคือ การเขียนต้องใช้ภาษาที่ไพเราะประณีต สื่อได้ทั้งอารมณ์ ความคิด ความรู้ ต้องใช้ศิลปะ ที่กล่าวว่าเป็นศาสตร์เพราะการเขียนทุกชนิดต้องประกอบด้วยความรู้ หลักการและวิธีการ ดังนั้นในการเขียนงานใดงานหนึ่งควรคำนึงถึงรูปแบบและหลักการเขียนให้ถูกต้องเพื่อได้มาซึ่งงานเขียนที่สมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Text Types

Text types
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่นิยมใช้ในการสื่อสารกันอยู่ทั่วโลก ซึ่งผู้คนทั่วโลกใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ช่วยให้คนทั่วโลกสามารถติดต่อกันได้รู้เรื่องหรือมีความเข้าใจที่ตรงกัน ปัจจุบันประเทศไทยพัฒนาด้านภาษาอังกฤษโดยการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ซึ่งจะช่วยคนไทยสามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวหรืออาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ การเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษจึงมีความจำเป็นอย่างมาก ที่จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การเขียนภาษาอังกฤษก็เป็นอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญในการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ ดังนั้นการเขียนภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญอย่างเห็นได้ชัดนักเรียนควรหันมาใส่ใจกับการเขียนมากยิ่งขึ้น โดยการเขียนนั้นมีรูปแบบของการเขียนต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์
                รูปแบบการเขียน (Form of writing) หมายถึง วิธีการเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน ซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีคุณลักษณะและมีองค์ประกอบหลักที่ใช้การเขียนสำหรับรูปแบบ  รูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานเขียน เช่น Narrative , Descriptive , Directive , Expository และ Argumentative ในงานเขียนแต่ละชิ้น ผู้เขียนจะเขียนให้สอดคล้องกับรูปแบบการเขียนและวัตถุประสงค์ของงานทุกครั้ง ไม่หลุดประเด็น มีใจความเดียวทั้งเรื่อง มีการใช้คำและภาษาที่น่าสนใจ
จุดประสงค์ในการเขียน
          จุดประสงค์ในการเขียนมีหลายประการตามความต้องการของผู้เขียนซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการเขียน จุดประสงค์ในการเขียนโดยทั่วไปมีผู้รวบรวมไว้ดังต่อไปนี้
1.    เพื่อเล่าเรื่อง บอกเรื่องราวต่างๆจากประสบการณ์
2.    เพื่อแสดงความคิดเห็นและแนะนำ 3.    เพื่ออธิบายให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เช่น อธิบายเรื่องธรรมชาติ อธิบายเหตุผล อธิบายการแสดงหรือพฤติกรรมของบุคคล  อธิบายวิธีการ/การปฏิบัติ  อธิบายวิธีทำตามขั้นตอน
4.    เพื่อจดบันทึกการฟัง การดูและการอ่าน จากสื่อต่างๆ
5.    เพื่อการวิเคราะห์ เช่น แสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ เขียนวิเคราะห์ข่าว เขียนแสดงข้อเท็จจริงและความคิดเห็น
6.    เพื่อการวิจารณ์ เช่น วิจารณ์ตัวละคร/บทละคร/บทความ วิจารณ์เรื่องจากภาพ
 7.    เพื่อสร้างจินตนาการและความบันเทิง
8.    เพื่อการโฆษณา ชักจูงใจ เชิญชวน และประกาศแจ้งความ เช่น โฆษณาสินค้า โฆษณาหาเสียง  คำอวยพร บัตรเชิญในโอกาสต่างๆ ประกาศของทางราชการ
9.    เพื่อประโยชน์ในการเรียน เช่น เขียนสรุปความ เขียนย่อความ เขียนย่อเรื่อง เขียนสรุปความจากการ ฟังหรือการอ่าน
10.  เพื่อการใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น จดหมาย การกรอกแบบรายการต่างๆ
ประเภทของการเขียน             
          1.  การเขียนบรรยาย (Description)  มีรูปแบบการเขียน คือ รายงานการสังเกตและข้อเขียนเชิงบรรยาย เป็นข้อเขียนที่ให้รายละเอียดของคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง ข้อเขียนแบบนี้จะใช้อยู่ในข้อเขียนแบบอื่นๆด้วย ซึ่งจะกล่าวถึง อะไร ที่ไหน เมื่อไร ดูเป็นอย่างไร เสียงเป็นอย่างไร กลิ่นเป็นอย่างไร ให้ความรู้สึกอย่างไร มีความเป็นพิเศษเพราะอะไร เป็นต้นโดยทั่วไป จึงใช้รายละเอียดของประสาทสัมผัส  เพื่อให้ผู้อ่านสนใจเค้าโครงเรื่องและแก่นของเรื่องที่บรรยาย เช่น บรรยายถึงต้นไม้ในสวนหลังบ้านของฉัน การไปเยี่ยมผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาล หรือนักกีฬาทำอย่างไรเพื่อไปสู่โอลิมปิก การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
  1)    ตอนนำ (Introduction) เป็นข้อความทั่วไปเกี่ยวกับเรื่อง ได้แก่ ใคร/อะไร เมื่อไร  ที่ไหน
 2)    ตอนรายละเอียด (Detail) เป็นการบรรยายคุณลักษณะ
   -   สำหรับบุคคล กล่าวถึง เขาดูเป็นอย่างไร เขาทำอะไร เขาแสดงออกอย่างไร อะไรที่เขาชอบ/ไม่ชอบ
   -   สำหรับสิ่งของ กล่าวถึง สิ่งนั้นดูเป็นอย่างไร ได้ยิน-รู้สึก-ได้กลิ่น-รส เป็นอย่างไร พบที่ไหน มันทำอะไร ใช้อย่างไร อะไรที่เป็นคุณสมบัติพิเศษ
          2.  การเขียนเล่าเรื่อง (Narrative) เป็นข้อเขียนที่เล่าถึงเรื่องต่างๆที่ให้ความบันเทิง กระตุ้น หรือสอน มุ่งที่จะให้ผู้อ่านเกิดความตั้งใจ และคงความสนใจไว้ได้นาน เรื่องมีหลายประเภท ได้แก่ ละครเหมือนชีวิตจริง เรื่องเชิงจินตนาการ เรื่องผจญภัย นิยายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่องลึกลับ เทพนิยาย นิทาน ตำนาน เป็นต้น การเขียนแบ่งออกเป็น 4 ตอน ได้แก่
      1)    ตอนที่เป็นการเกริ่น (Orientation) กล่าวถึง ฉากและตัวละคร ซึ่งจะรวม         การกล่าวถึง ใครหรืออะไร ที่ไหน และ เมื่อไร
     2)    ตอนที่กล่าวถึงความยุ่งยาก (Complication) เป็นการกล่าวถึงความยากลำบากหรือปัญหา ที่ทำให้การดำรงชีวิตหรือความสะดวกสบายของตัวละครเกิดความยุ่งยากขึ้น และก่อให้เกิดลำดับของเหตุการณ์ที่น่าสนใจตามมา
     3)    ลำดับเหตุการณ์ (Sequence of events) ซึ่งอาจประกอบด้วย
       -  การบรรยายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลำดับแรก…… ต่อมา.....   ภายหลัง..... หลังจากนั้น......
       -  ลำดับเหตุการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นกับตัวละครแต่ละตัว ในขณะที่..... ในขณะ..... ในระหว่างนั้น..... เมื่อ
       - การผสมผสานของลำดับ
       - ความยุ่งยากอื่นๆ
       4)  การแก้ปัญหา (Resolution) เป็นการกล่าวถึงผลสุดท้ายของเหตุการณ์ ซึ่งเป็นที่ปัญหาได้รับการแก้ไข
          3.  การเขียนเล่าเหตุการณ์ (Recount) เป็นข้อเขียนที่เล่าถึงเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่ผ่านมา โดยมีการเรียงลำดับตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
         1)    ตอนนำ (Introduction) เป็นการกำหนดฉาก โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับใคร/อะไร เมื่อไร ที่ไหน และทำไม
       2)    เหตุการณ์ (Events) กล่าวถึง อะไรที่เกิดขึ้นตามลำดับของเวลา โดยใช้คำเกี่ยวกับเวลา ได้แก่ แรกสุด ต่อมา ในไม่ช้า ระหว่าง ภายหลัง ต่อมาภายหลัง ในที่สุด สิ่งสุดท้ายรวมทั้งคำคุณศัพท์ ข้อความที่เขียนเป็นเรื่องของอดีตกาล
       3)    ตอนสรุป (Conclusion) เป็นการกล่าวถึงข้อคิดเห็นส่วนตัวว่า ผู้เขียนคิดอะไร รู้สึกอย่างไร หรือตัดสินอะไรเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การเขียนมีลักษณะเป็นส่วนตัว จึงใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง
          4.  การเขียนอภิปราย (Discussion) เป็นข้อเขียนที่กล่าวทั้งข้อดีและข้อเสียของหัวข้อปัญหา โดยแสดงเหตุผลที่สนับสนุนและคัดค้านในเรื่องนั้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน คือ
        1)    ตอนที่ว่าด้วยหัวข้อปัญหา (Issue) เป็นการแนะนำหัวข้อปัญหาหรือหัวข้อเรื่องว่า คืออะไร กล่าวถึงกลุ่มที่ต่างกัน มีความเห็นต่างกัน อาจแนะนำกลุ่มที่สนับสนุนและกลุ่มที่คัดค้าน
         2)    ตอนที่ว่าด้วยเหตุผล (Argument) กล่าวถึงประเด็นและหลักฐานของกลุ่มที่สนับสนุนและคัดค้าน ดังนี้
                 (1)  กลุ่มที่สนับสนุน
                       ความเห็นข้อแรก........ ใคร เขาคิดอะไร เหตุใด
                        ความเห็นข้อที่สอง.......ใคร เขาคิดอะไร เหตุใด
                  (2)  กลุ่มที่คัดค้าน
                          ความเห็นข้อแรก....... ใคร   เขาคิดอะไร    เหตุใด
                          ความเห็นข้อที่สอง..... ใคร  เขาคิดอะไร    เหตุใด
           3)    ตอนสรุป เป็นการสรุปความถึงเหตุผลและผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะอะไร เพราะเหตุใด การเขียนมีการใช้คำนาม สรรพนาม และคำที่เชื่อมถึงเหตุผลที่แสดงถึงปัจจุบันกาลหรืออดีตกาล ลักษณะการเขียนต้องเป็นปรนัยที่ยุติธรรม ใช้สรรพนามบุรุษที่สองหรือที่สาม
          5. การเขียนเชิงอธิบาย (Exposition) / การเขียนโต้เถียง (Argument) เป็นการเขียนที่ต้องแสดงเหตุผลในสองด้าน เป็นการเขียนเพื่ออธิบายหรือโต้เถียง โดยที่ทั้ง 2 ด้านต้องแสดงเหตุผลโต้แย้งเพื่อสนับสนุนเหตุผลในการโต้แย้ง แต่ควรมีความสมดุลในเหตุและผลที่จะนำเสนอโดยอาศัยต้องใช้ข้อมูล สถิติและข้อคิดเห็นสนับสนุนประกอบ หรือทั้งการตรวจสอบหรืออธิบายว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยอาศัยความคิดเห็นส่วนบุคคลมากกว่าหลักฐานสนับสนุนความจริงจากบุคคลหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ จะเป็นการวิเคราะห์และแสดงให้เห็นสภาพความเป็นจริง อธิบายความรู้สึกและวิเคราะห์จากความจริงที่ปรากฏอยู่
          6. การเขียนเกี่ยวกับวิธีการ (Procedure) เป็นข้อเขียนที่บอกให้ทราบว่า จะสร้างหรือทำ สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้อย่างไร การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
      1)    เป้าประสงค์ (Goal) เป็นการบอกถึงสิ่งที่จะสร้างหรือทำ ซึ่งอาจรวมไปถึงการบรรยายสั้นๆ ถึงผลผลิตที่จะเกิดขึ้น
       2)    สิ่งที่ต้องการใช้ (Requirements) กล่าวถึงรายการสิ่งที่ต้องการใช้ในการกระทำ ได้แก่
                -  ส่วนประกอบในการทำ
                -  เครื่องใช้ต่างๆ
                 -  วัสดุ
                 -  เครื่องมือ
       3)    ขั้นตอน (Steps) กล่าวถึงขั้นตอนการทำตามลำดับ อาจใช้ภาพหรือแผนผังประกอบ การสอนเริ่มด้วยคำกริยาและอธิบายให้ชัดเจนว่า ทำอะไรและทำอย่างไรโดยทั่วไปใช้สรรพนามบุรุษที่สองหรือสาม
          7.  การเขียนรายงานสารสนเทศ (Information report) เป็นข้อเขียนที่ให้สารสนเทศโดยกล่าวถึงข้อเท็จจริง โดยทั่วไปใช้บรรยายเกี่ยวกับประเภทหรือกลุ่มของคน สัตว์ สิ่งของ หรือ สถานที่ การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
        1)    ตอนนำ (Introduction) กล่าวถึงนิยามหรือการจัดประเภท หรือคำบรรยายสั้นๆ
       2)    ตอนบรรยาย (Description) กล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นเป็นย่อหน้าๆไป อาจใช้ภาพถ่าย ภาพวาด แผนที่หรือแผนผัง ประกอบด้วย หัวข้อย่อย ในการบรรยายที่ใช้กันมาก ได้แก่
(1)  เรื่องเกี่ยวกับสัตว์ ประกอบด้วย รูปร่างภายนอก ที่อยู่อาศัย การเคลื่อนไหว อาหา พฤติกรรม วงจรชีวิต
(2)  เรื่องเกี่ยวกับบุคคล ประกอบด้วย ชื่อ อายุ รูปร่างภายนอก บุคลิกภาพ อาชีพ ความสำเร็จประวัติความเป็นมา
(3)  เรื่องเกี่ยวกับสิ่งของ ประกอบด้วย ลักษณะภายนอก ส่วนต่างๆ หน้าที่ ลักษณะเฉพาะ การใช้ประโยชน์ คุณค่า
(4)  เรื่องเกี่ยวกับสถานที่ ประกอบด้วย ตำแหน่งที่อยู่ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ประชากร วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
           3)    ตอนสรุป (Conclusion) เขียนสรุปความหรือข้อคิดเห็น เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริง จึงไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึก ใช้คำที่มีความหมายกว้างๆและใช้สรรพนามบุรุษที่สาม
         8.  การเขียนอธิบาย (Explanation) เป็นข้อเขียนที่อธิบายว่าบางสิ่งบางอย่างทำงานอย่างไรหรือบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมจึงเกิดขึ้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
        1)    ตอนนำ (Introduction) เป็นข้อความทั่วไปเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องอาจประกอบด้วยนิยามหรือคำถาม คำบรรยายสั้นๆ
      2)    การอธิบาย เป็นชุดของข้อความที่อธิบายตามลำดับในเรื่อง
                (1)  บางสิ่งบางอย่างทำงานอย่างไร ซึ่งอาจประกอบด้วย ใช้ทำอะไร แต่ละส่วนทำอะไร แต่ละส่วนทำงานร่วมกันอย่างไร ใช้ประโยชน์ได้อย่างไร หรืออาจอธิบายในเรื่อง
                (2)  ทำไมบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น ซึ่งอาจประกอบด้วย เริ่มต้นอย่างไร ทำไม อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป ทำไม อะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนั้น ทำไม อะไรจะเกิดขึ้นในท้ายที่สุด ทำไม
       3)    ตอนสรุป เป็นการสรุปความหรือให้ข้อคิดเห็น อาจประกอบด้วยการสรุปความหรือข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ และประวัติความเป็นมา
               การเขียนแต่ละประเด็นสำคัญให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ คำที่ใช้ได้แก่ ศัพท์เทคนิคหรือศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ คำกริยา และคำสันธาน ข้อเขียนจะเป็นปัจจุบันกาล ไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกและใช้สรรพนามบุรุษที่สาม
          9.  การเขียนแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกตอบสนอง ( Personal Response) เป็นข้อเขียนที่ผู้เขียนบรรยายถึงปฏิกิริยาตอบสนองต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ใช้สำหรับการวิจารณ์ การให้ข้อมูลย้อนกลับ หรือการประเมิน เพื่อแสดงถึงความคิด หรือความรู้สึกต่อสิ่งนั้นๆ ว่าอะไรเกิดขึ้น มีใครเกี่ยวข้องบ้าง ทำไมจึงมีความพิเศษในเรื่องนั้น จะโต้ตอบอย่างไร เรื่องนั้นมีผลอย่างไรต่อผู้เขียน ผู้เขียนรู้สึกอย่างไร และผู้เขียนคิดอะไรอยู่ การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่
         1)    ตอนที่เป็นการเกริ่นนำ (Orcintation) เป็นการระบุเรื่องว่าอะไร ใคร เมื่อไร และ   ที่ไหน
         2)    รายละเอียด (Details) เป็นการบรรยายเรื่องและปฏิกิริยาตอบสนองของผู้เขียนต่อเรื่องนั้น
   (1)  การบรรยายเรื่อง อาจประกอบด้วย ตัวบุคคลหรือตัวละครที่เกี่ยวข้อง สรุปว่าอะไรเกิดขึ้น มีลักษณะสำคัญอะไร
(2)  การตอบสนอง อาจประกอบด้วย เรื่องนั้นทำให้ผู้เรียนรู้สึกอย่างไร คิดอย่างไรเกี่ยวกับตัวละครและเหตุการณ์ ผู้เขียนได้เรียนรู้อะไร
          3)    การสรุป กล่าวถึงการประเมินตอนสุดท้าย หรือข้อเสนอแนะ การเขียนจะใช้คำที่เป็นการบรรยาย และคำที่เกี่ยวกับการประเมินในลักษณะอดีตกาลและรวมถึงอนาคตกาล
                นอกจากนี้แล้ว รูปแบบของการเขียนยังมีที่มาจากอีกหลายแห่ง ซึ่งได้แก่
         1. การเขียนจดหมายบุคคล (The Personal Letter) จดหมายคือสารในรูปข้อเขียนที่มีหลายชนิด เช่น การเขียนบอกข่าวหรือเล่าเรื่องที่พบเห็น การเขียนเสนอความคิดหรือความรู้สึก การเขียนข้อร้อง เป็นต้น               การเขียนแบ่งเป็น 4 ตอนได้แก่
1)    ผู้ส่ง (Sender) แจ้งที่อยู่หัวจดหมายสำหรับการส่งจดหมายตอบกลับ อาจรวมถึงหมายเลขโทรศัพท์และอีเมล์
     2)    ถึงผู้รับ (To) ประกอบด้วย วันที่ ชื่อ ที่อยู่ และการทักทายโดยใช้ชื่อของผู้รับ
     3)    สาร (Message) รายละเอียดของสารประกอบด้วย ตอนนำ สาร และความเห็น โดยเขียนอย่างสุภาพ
     4)    จากผู้ส่ง (From) ประกอบด้วยคำลงท้าย ชื่อผู้ส่ง ตำแหน่ง (ถ้าเป็นจดหมายทางการ)
          2.  การเขียนซองจดหมาย (The Envelope) ในการเขียนจ่าหน้าซองจดหมายนั้น จะมีข้อมูลผู้รับและผู้ส่งที่ระบุไว้ชัดเจน   การเขียนแบ่งเป็น 2 ตอนได้แก่
   1)    ผู้ส่ง (Sender) แจ้งที่อยู่หัวจดหมายสำหรับการส่งจดหมายตอบกลับ อาจรวมถึงหมายเลขโทรศัพท์และอีเมล์
   2)    ถึงผู้รับ (To) ประกอบด้วย วันที่ ชื่อ ที่อยู่
         3.  การเขียนจดหมายทั่วไป (The Formal Letter) จดหมายคือสารในรูปข้อเขียนที่มีหลายชนิด เช่น การเขียนบอกข่าวหรือเล่าเรื่องที่พบเห็น การเขียนเสนอความคิดหรือความรู้สึก การเขียนข้อร้อง เป็นต้น               การเขียนแบ่งเป็น 4 ตอนได้แก่
     1)    ผู้ส่ง (Sender) แจ้งที่อยู่หัวจดหมายสำหรับการส่งจดหมายตอบกลับ อาจรวมถึงหมายเลขโทรศัพท์และอีเมล์
      2)    ถึงผู้รับ (To) ประกอบด้วย วันที่ ชื่อ ที่อยู่ และการทักทายโดยใช้ชื่อของผู้รับ
      3)    สาร (Message) รายละเอียดของสารประกอบด้วย ตอนนำ สาร และความเห็น โดยเขียนอย่างสุภาพ
      4)    จากผู้ส่ง (From) ประกอบด้วยคำลงท้าย ชื่อผู้ส่ง ตำแหน่ง (ถ้าเป็นจดหมายทางการ)
          4. การเขียนบรรณาธิการ (Letter to the Editor) เป็นการเขียนเพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ในเนื้อหาที่นำมาเขียนเรียบเรียง นำรายการของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ผู้ทำรายงานได้ใช้ประกอบการเขียนรายงาน ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลาย ๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่
         5. การเขียนโปสการ์ด (Postcards) คือ ภาพถ่ายทั่วไปที่นิยมใช้เป็นของที่ระลึกในวันหยุดต่าง ๆ เพราะจะหาซื้อได้ง่าย ในราคาที่ถูกแสนถูกแล้ว โปสการ์ดรูปสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆทั้งในและนอกประเทศยังสามารถเก็บเป็นของสะสม ของที่ระลึก ตัวแทนหรือสื่อที่ใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวความทรงจำต่างๆ ณ ช่วงเวลาหนึ่งได้เป็นอย่างดีอีกด้วย มีหลักการง่ายๆ 3 อย่างด้วยกัน อันได้แก่
1) ข้อความสั้นกระชับ (short)
2) เนื้อหาเป็นไปในเชิงบวก (positive)
3) ใจความสามารถคาดเดาได้ในที (predictable in their content)
โดยคุณสามารถเลือกใช้คำใดคำหนึ่งของคำคุณศัพท์ (adjective) เพื่อบรรยายความรู้สึกส่วนตัว
                6. การเขียนเพื่อเชิญชวน (Invitations) การเชื้อเชิญเป็นการแสดงถึงความเป็นผู้มีนํ้าใจ เพื่อให้เข้าร่วมกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย อาจจะเป็นการเชื้อเชิญธรรมดา หรือสุภาพหรือเกรงใจ ซึ่งถือเป็นมรรยาททางสังคม และมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสนทนา โดยจำเป็นต้องมีรายละเอียดงาน ว่า จัดงานอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร การแต่งกายอย่างไร และข้อมูลการติดต่อกลับอย่างชัดเจน
                7. การเขียนไดอารี่   (Diary Extract) เป็นการเขียนที่บันทึกเกี่ยวกับความรู้สึกของบุคคลและแสดงความรู้สึกต่าง ๆ โดยมีหลักการดังนี้
                1) เขียนชื่อเจ้าของไดอารี่
                2) เขียนวัน วันที่ เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น
                3) ใช้ Present tense ในการเขียนเรื่องที่เกิดในตอนนั้น และใช้ Past tense ในการเขียนเรื่องราวที่ป่านไปแล้ว
                4) เขียนเป็นพารากราฟสั้น ๆ โดยใช้ประโยคทั่วไป ใช้ภาษาที่แสดงถึงอารมณ์ ความคิดเห็น และความรู้สึก
                8. การเขียนการสัมภาษณ์ (Interviews/ Dialogues) การเขียนสัมภาษณ์ เป็นโครงสร้างการพูดคุยปรึกษาหารือระหว่างคนสองคน โดยที่คนหนึ่งเป็นผู้ถามและอีกคนจะเป็นผู้ตอบ จะมีการแนะนำตัวเองก่อนการสัมภาษณ์ ซึ่งจัดทำขึ้นมาเพื่อทดสอบความรู้ การเตรียมตัว ในการตอบ ว่าจะตรงประเด็นหรือไม่อย่างไร
                9. การเขียนสคริป (Script Writing) สคริปจะเป็นไปตามรูปแบบของการสนทนา ซึ่งจะมีรายละเอียดเป็นไปตามการสรุป เวลาและสถานที่ ชื่อของตัวบุคคลในการสรุป ฉาก จุดเด่น และสรุปผล มีฝ่ายทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการให้ความสะดวก ทั้ง เครื่องแต่งกาย ดนตรี เทคนิค แสง และอื่นๆ อีกมาย
                10.  การเขียนรายงานข่าว (A Newspaper Report) เป็นการเขียนข่าวในสิ่งที่เป็นความจริง มีหัวข่าวที่ชัดเจน และแบ่งเนื้อหาเป็นย่อหน้าอย่างเหมาะสม จะเป็นการสรุปสั้น ๆ ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร โดยใช้ present และ past tense ในการรายงาน
                11. การเขียนบทความสารคดี (Feature Article) เป็นบทความที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ชักชวน หรือ บันเทิง เขียนแบบสารคดีมีการวิเคราะห์วิจารณ์ควบคู่กันไป ทำให้มีสาระมากกว่าบันเทิง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเอาข้อเท็จจริงที่มีสารมาเขียนในรูปแบบของสารคดี ในย่อหน้าแรกจะเป็นการเกริ่นแนะนำเกี่ยวกับหัวเรื่อง ย่อหน้าที่สองจะเป็นเนื้อหารายละเอียด จะมีการอธิบายและใช้ภาษาที่จินตนาการได้ สุดท้ายในการสรุปจะเป็นการพูดถึงเนื้อหาทั้งบทความ
                12. การเขียนบทบรรณาธิการ (Editorial) บทความที่แสดงทัศนะที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น บทความนี้อยู่ในความดูแลของกองบรรณาธิการที่จะมอบหมายให้บรรณาธิกรเป็นผู้เขียน หรือมอบหมายให้ผู้เขียนคนใดเขียนประจำหรือหมุนเวียนกันไปตามความถนัดของนักเขียนแต่ละคนก็ได้ ทั้งนี้ แนวคิดที่นำเสนอในบทบรรณาธิการถือเป็นจุดยืนทางความคิดหรือแสดงนโยบายหลักของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น
                13. การเขียนจุลสาร (Pamphlet) จุลสาร อาจจะมีการข้อมูลที่ให้ความรู้ สามารถชักจูงได้ หรือ เกี่ยวกับการเรียนการสอน จะความหมายที่ชัดเจน เนื้อหาสั้นกระชับ มีรูปภาพประกอบได้ เป็นสื่อที่จุงใจให้ผู้อ่านเกิดความรู้
                14. การเขียนโฆษณา (Advertising) คือ การเสนอขายสินค้า บริการ หรือความคิดโดยการใช้สื่อ เพื่อให้ เข้าถึงลูกค้าจํานวนมากได้ ในเวลาอันรวดเร็ว สื่อโฆษณาที่สําคัญประกอบด้วย โทรทัศน์ วิทยุหนังสือพิมพ์ นิตยสารป้ายโฆษณา ฯลฯ ผู้เขียนควรออกแบบโฆษณาให้น่าสนใจ น่าเชื่อถือ อธิบายสินค้าและโปรโมชั่นอย่างชัดเจน
                15.การเขียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Communication) หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อาจอยู่ในรูปของ สื่อบันทึกข้อมูลประเภทสารแม่เหล็กเช่น แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (floppy disk) และสื่อประเภทจานแสง(optical disk)บันทึกอักขระแบบดิจิตอลไม่สามารถอ่านได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บันทึกและอ่านข้อมูล เป็นสื่อการเรียนการสอนที่เกิดจากวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนจะออกมาในลักษณะของสื่อประสม หรือมัลติมีเดีย (Multimedia) แสดงผลออกมาหลายรูปแบบตามที่โปรแกรมไว้ เช่น มีเสียง เป็นภาพเคลื่อนไหว สามารถให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ ปัจจุบันสื่อประเภทนี้มีหลายลักษณะ ดังนี้
      - E-mail เป็นจดหมายสั้นทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเป็นข้อความ จดหมาย เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ เป็นที่นิยมใช้ในการติดต่อสื่อสาร
      - Tax เป็นเอกสาร ส่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ หรือที่เรียกกันว่า FAX สามารถส่งจากคอมพิวเตอร์หรือมือถือก็ได้
      - SMS เป็นบริการข้อความสั้นส่งผ่านโทรศัพท์มือถือ
                16. การเขียนสรุป (Summary/Precis Writing) เป็นการเขียนสรุปที่ควรใช้ความระมัดระวังมากที่สุดในรูปแบบการเขียนทั้งหมด
                17. การเขียนบทกวี (Poetry Writing) เป็นการเขียนที่มีรูปแบบที่กระตุ้นการแสดงออก อิสระในการเขียน มีหลายประเภทได้แก่ The word poem, The syllable poem , Haiku , The shape poem , Rhyming poetry , The limerick , Conversation of prose into poetry.

จากรูปแบบการเขียนที่กล่าวในข้างต้นนั้น จะเห็นได้ถึงความแตกต่างของการเขียนแต่ละประเภทได้อย่างชัดเจน การเขียนเป็นการสื่อสารด้วยอักษร ถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ของผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่เป็นทั้งศิลป์และศาสตร์ กล่าวคือ การเขียนต้องใช้ภาษาที่ไพเราะประณีต สื่อได้ทั้งอารมณ์ ความคิด ความรู้ ต้องใช้ศิลปะ ที่กล่าวว่าเป็นศาสตร์เพราะการเขียนทุกชนิดต้องประกอบด้วยความรู้ หลักการและวิธีการ ดังนั้นในการเขียนงานใดงานหนึ่งควรคำนึงถึงรูปแบบและหลักการเขียนให้ถูกต้องเพื่อได้มาซึ่งงานเขียนที่สมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น