วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning Log 3 การเรียนรู้ในชั้นเรียน

Learning Log 3
การเรียนรู้ในชั้นเรียน
การเรียนภาษาอังกฤษ ตัวพื้นฐาน คือ เรื่องไวยากรณ์ ทั้งในเรื่องวลี ประโยค,ชนิดของคำ,tense (กาลเวลา)เป็นต้น ในสัปดาห์นี้การวิชาการแปลได้ทบทวนเนื้อหาเรื่อง tense (กาลเวลา) ซึ่งเรื่อง Tense ถือว่ามีความสำคัญสำหรับการเรียนวิชาการแปล ถ้าพื้นฐานแน่นแล้ว การเรียนรู้เรื่อง tense ก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายมาก และถ้ารู้เรื่อง tense , รู้โครงสร้าง เวลาที่แปลก็จะแปลถูกและรู้เรื่อง ดังนั้นเราจำเป็นต้องรู้เรื่อง tense เพื่อที่จะต่อยอดในการเรียน
     เรื่อง tense ก็คือ เรื่องกาลเวลา เวลาที่เราจะพูดอะไรสักอย่างจะมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ เพราะตัวเวลานี้แหละที่ทำให้โครงสร้างประโยคนี้เปลี่ยนไป tense มี 3 tense ใหญ่ๆ คือ present , past , future  นอกจากนั้นเราก็แบ่งย่อยออกมาอีก 4 tense คือ simple , continuous , perfect , perfect continuous รวมทั้งหมดเราจะได้ 12 tense ดังนี้
    ช่วงแรก คือ Simple….present simple  : s + v ,(s,es) ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจำ เป็นกิจวัตรประจำวัน เป็น tense ที่คนส่วนใหญ่ใช้มากที่สุด
      : Past simple : s + v2 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและจบลงไปแล้วในอดีต
      : future simple : S + will / shall + v1 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น/คาดว่าเกิดขึ้นแน่นอน
                        ช่วงเวลาที่สองคือ Continuous….Present Continuous : S + V to be + Ving ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและทำอยู่ในปัจจุบัน
            :Past Continuous : S + was/were + Ving ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและกำลังทำในอดีต
            :Future Continuous : S + will + be + Ving  ใช้กับเหตุการณ์ที่มีการวางแผนในอนาคตและกำลังเกิดขึ้นในอนาคต

ช่วงถัดมาคือ Perfect …. Present Perfect: S + has/have + V3  ประธานเป็นเอกพจน์ใช้ has ประธารเป็นพหูพจน์ใช้ have  ใช้กับเหตุการณ์การกระทำที่สมบูรณ์เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ต่อเนื่อง
:Part Perfect : S + had + V3 ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและมีเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นตามมาและจบลงไปแล้วในอดีต  เหตุการณ์ที่1 Past Perfect , เหตุการณ์ที่ 2 Past Simple
:Future Perfect : S + will + have + V3 มีการวางแผนเกิดขึ้นในอนาคต เกิดขึ้นสองเหตุการณ์  เหตุการณ์ที่ 1  Future Perfect , เหตุการณ์ที่ 2 Present Simple
            ช่วงเวลาสุดท้าย Perfect Continuous …. Present Perfect Continuous :  S+ V to have +been+Ving ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบางช่วงเวลาในอดีตและดำเนินอยู่ในขณะที่พูด :
Past Perfect Continuous: S + had + been + Ving จะเป็นช่วงเวลาที่เกิดขึ้นในอดีต , Future Perfect Continuous: S + will/shall + have + been + Ving เป็นการเน้นความต่อเนื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเหมือนกับ Future Perfect
            ในการเรียน tense หรือการนำ tense มาใช้ในการเรียนในแต่ละ tense ก็มีตัวบ่งบอกเวลา ดังนี้ Present: always , often , sometime , usually , hardly,  , generally , seldom , every…..,one a week เป็นต้น, Past: yesterday , last….. , ago ,  recently , during the war เป็นต้น , Future: soon , tonight , tomorrow , next week , next….. เป็นต้น

            การเรียนภาษาเรื่อง tense ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในการเรียนวิชาการแปล ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องอ่าน ท่อง และฝึกฝนแบบฝึกหัดที่เกี่ยวกับ tense ให้มากเพื่อที่จะได้ความรู้ที่ถูกต้องและแม่นยำที่จะนำความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการเรียนฝึกฝนเพื่อให้เกความชำนาญและทักษะในการเรียนภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง



       Learning Log 3
การเรียนรู้นอกชั้นเรียน
      ปัจจุบันการศึกษาในประเทศมีหลากหลายรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ทุกคน ทุกวัยได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อที่จะต่อยอดความรู้เดิมหรือพัฒนาตนเอง หาความรู้ใหม่ๆได้หลากหลายวิธี การศึกษาจะพัฒนาตนเองเราต้องรู้จักวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง มีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เปิดใจยอมรับที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนและการที่เรามีการเตรียมความพร้อม หาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะเรียนมาก่อนเข้าชั้นเรียนนั้นถือเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง เพราะเราได้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนั้น นอกจากนั้นการที่เราไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องที่เรียนไปก็ทำให้เรามีความรู้มากขึ้นกว่าเดิม การเรียนในห้องเรียนคาบนี้ดิฉัน ได้เรียนรู้ถึงการเตรียมตัวสำหรับการเตรียมตัวในอนาคต , ระบบการเรียน Teach less , Learn more และ CEFR ซึ่งทำให้ดิฉันได้มาหา ข้อมูลเพิ่มเติมในสัปดาห์นี้
      การเป็นครูในอนาคตควรเป็นครูที่ดีและมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี นอกจากนั้นแล้วครูต้องมีความรู้เนื้อหาต้องมีความถูกต้องแม่นยำและมากพอที่จะถ่ายทอดความรู้ให้เด็กฟัง วิธีการสอนควรสร้างสรรค์เรียกความสนใจกับผู้เรียนได้ การออกแบบแผนการสอนให้ตรงและเหมาะสม ตามวัตถุประสงค์  ในปัจจุบันครูยุคใหม่ถือว่ามีความสำคัญน้อยกว่า  IT เนื่องจากสื่อการเรียนการสอนหรือการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยี (IT) เช่นอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยคมากสำหรับการศึกษาถ้าใช้ในทางที่ถูกและสร้างสรรค์และการเรียนการสอนในรูปแบบผสมผสาน ( blended  Learing ) เป็นการเรียนรู้ที่หลากหลายสำหรับการศึกษา
       Blended Learing การเรียนรู้แบบผสมผสาน รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน  ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธีการเรียนกาสอน ที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย การเรียนรู้เป็นสำคัญ
     Blended  Learning เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี  , blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว , เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในห้องเรียนและแบบออนไลน์ , สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม การเรียนแบบผสมผสานเป็นการรวมกันหรือการนำสิ่งต่างๆมาผสกัน คือ รูปแบบการเรียนการสอน รวมวิธีการเรียนการสอน และ รวมการเรียนแบบออนไลน์ ตั้งแต่อดีตปัจจุบัน และอนาคต การเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือ ส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากันจาก 2 รูปแบบ สภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม กับการเรียนแบบออนไลน์
   การเรียนการสอนแบบผสมผสาน Blended Learning เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ เหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้และตอบสนองตามความแตกต่างระหว่างบุคคลเกิดการเรียนรู้และการเกิดทักษะ ด้านการปฏิบัติ Practice Skill โดยใช้เทคโนโลยีมากขึ้น
   “Teach less , learn more สอนน้อยลงเรียนรู้มากขึ้นทุกคนสงสัยว่าทำไมถึงต้องสอนน้อย เรียนรู้มากขึ้น  ปัจจุบันบทบาทความเป็นครูในการสอนถือว่าน้อยมากเพราะมีสื่อ มีเดีย/เทคโนโลยี เช่น  tablet Computer notebook และโทรศัพท์มือถือและอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้น ครู มีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ครูต้องคำนึงถึงการออกแบบการเรียนรู้จากการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดและสืบค้นข้อมูล ฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
            แนวคิด teach less  , learn morn  (TLLM) เป็นแนวคิดการจัดการศึกษา ของประเทศสาธารณรัฐสิงค์โปร ภายใต้วิสัยทัศน์ในการพัฒนาจัดระบบการศึกษาที่กล่าวมา Thinking School ,Learn Nation  (TSLM) ซึ่งต้องการให้เกิดการศึกษาการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาด้วยการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่ง Thinking School เป็นวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้ทุกโรงเรียนจัดการศึกษาที่พัฒนาให้ผู้เรียนเป็นนักคิด   ส่วน Learning Nation เป็รวิสัยทัศน์ของการเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและความสามารถในการสร้างสรรค์เพื่อนำไปประยุกต์ ใช้ในชีวิตจริง นอกจากนี้แนวคิด teach less , learn morn ( TLLM ) ก็ยังมุ่งเน้นด้านความเป็นสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนที่ดีขึ้นและเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตของผู้เรียนซึ่งต้องการการเปลี่ยนแปลงจากการจัดการศึกษาในเชิงปริมาณไปสู่การจัดการศึกษาเชิงคุณภาพคือต้องการเพิ่มการศึกษาในเชิงคุณภาพ และลดการจัดการศึกษาในเชิงปริมาณซึ่งการเพิ่มการจัดการศึกษาในเชิงคุณภาพ คือ การเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ส่วนการลดการจัดการศึกษาในเชิงปริมาณ คือ การลดบทบาทของครูจากครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้นำ กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ การลดการเรียนรู้ โดยการท่องจำ การสอบและการหาคำตอบ
              ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิด Teach Less , Learn More ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตัคติวิสต์ Constructivist เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน เชื่อว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมอย่างกระตือรือร้น ดังนั้นในปัจจุบัน โลกเรามีความทันสมัยมากขึ้น เราทุกคนก้อควรที่จะปรับตัว ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและประยุกต์ใช้ในอนาคตข้างหน้าได้ และการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Teach Less , Learn  More สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลากหลายวิธีแต่ต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
               CEFR  ( common  Eorpean  Framework  of  Reference  for  Languages ) กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ ของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป เป็นการกำหนดมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ ของประชากรของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป เพื่อให้โรงเรียนทุกๆโรงเรียน ในแต่ละประเทศที่เป็นชาติสมาชิกในสหภาพยุโรป ได้ออกแบบหลักสูตรและอำนวยการเรียนการสอนวิชภาษาอังกฤษ ที่มุ่งเน้นในการพัฒนา  ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ  ( English  Proficiency )  ให้กับประชากรของตนเอง เพื่อให้ประชากรในทุกๆประเทศของสหภาพยุโรป  สามารถใช้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษากลาง ในการสื่อสารแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและองค์กรความรู้ต่างๆ โดยปัจจุบัน กรอบมาตรฐานความสามารถ ทางภาษาอังกฤษ ( CEFR )  นั้นถือว่าเป็นมาตรฐานในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษ ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกโดยกรอบมาตรฐาน CEFR ได้แบ่งออกเป็น 6 ระดับ C1 ( Mastery ) สามารถเข้าใจภาษาผ่านการฟังและการอ่านได้อย่างคล่องแคล่ว , C2 EOP ( Efficient  Opertional  Proficiency ) สามารถเข้าใจความหมายที่แท้จริงในประโยคภาษาอังกฤษที่มีการซับซ้อนได้ , B2 ( Vantge ) สามารถเข้าใจความสำคัญของภาษาอังกฤษที่ซับซ้อนทั้งในส่วนของข้อเท็จจริงและอารมณ์ความรู้สึกของภาษาได้ , B1 ( Threshold ) สามารถเข้าใจความสำคัญของภาษาอังกฤษในโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องที่ตนเองมีความคุ้นเคย , A2 ( Waystage ) สามารถเข้าใจประโยคภาษาอังกฤษที่มักพบเจอบ่อยๆสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน , A1( Breakthrough ) สามารถเข้าใจประโยคภาษาอังกฤษที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันได้
              ในสังคมเราปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวสำคัญในการเรียนรู้ที่ทำให้เราได้มีการพัฒนาตนเองและเรียนรู้สิ่งใหม่ และถ้าหากเราสามารถใช้สื่อและวิธีการ , กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมและถูกต้อง กสามารถกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในการศึกษามากยิ่งขึ้น การเรียนรู้นอกชั้นเรียนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่พิสูจน์เราในหลายๆด้าน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning Log 3 การเรียนรู้ในชั้นเรียน

Learning Log 3
การเรียนรู้ในชั้นเรียน
การเรียนภาษาอังกฤษ ตัวพื้นฐาน คือ เรื่องไวยากรณ์ ทั้งในเรื่องวลี ประโยค,ชนิดของคำ,tense (กาลเวลา)เป็นต้น ในสัปดาห์นี้การวิชาการแปลได้ทบทวนเนื้อหาเรื่อง tense (กาลเวลา) ซึ่งเรื่อง Tense ถือว่ามีความสำคัญสำหรับการเรียนวิชาการแปล ถ้าพื้นฐานแน่นแล้ว การเรียนรู้เรื่อง tense ก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายมาก และถ้ารู้เรื่อง tense , รู้โครงสร้าง เวลาที่แปลก็จะแปลถูกและรู้เรื่อง ดังนั้นเราจำเป็นต้องรู้เรื่อง tense เพื่อที่จะต่อยอดในการเรียน
     เรื่อง tense ก็คือ เรื่องกาลเวลา เวลาที่เราจะพูดอะไรสักอย่างจะมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ เพราะตัวเวลานี้แหละที่ทำให้โครงสร้างประโยคนี้เปลี่ยนไป tense มี 3 tense ใหญ่ๆ คือ present , past , future  นอกจากนั้นเราก็แบ่งย่อยออกมาอีก 4 tense คือ simple , continuous , perfect , perfect continuous รวมทั้งหมดเราจะได้ 12 tense ดังนี้
    ช่วงแรก คือ Simple….present simple  : s + v ,(s,es) ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจำ เป็นกิจวัตรประจำวัน เป็น tense ที่คนส่วนใหญ่ใช้มากที่สุด
      : Past simple : s + v2 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและจบลงไปแล้วในอดีต
      : future simple : S + will / shall + v1 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น/คาดว่าเกิดขึ้นแน่นอน
                        ช่วงเวลาที่สองคือ Continuous….Present Continuous : S + V to be + Ving ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและทำอยู่ในปัจจุบัน
            :Past Continuous : S + was/were + Ving ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและกำลังทำในอดีต
            :Future Continuous : S + will + be + Ving  ใช้กับเหตุการณ์ที่มีการวางแผนในอนาคตและกำลังเกิดขึ้นในอนาคต

ช่วงถัดมาคือ Perfect …. Present Perfect: S + has/have + V3  ประธานเป็นเอกพจน์ใช้ has ประธารเป็นพหูพจน์ใช้ have  ใช้กับเหตุการณ์การกระทำที่สมบูรณ์เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ต่อเนื่อง
:Part Perfect : S + had + V3 ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและมีเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นตามมาและจบลงไปแล้วในอดีต  เหตุการณ์ที่1 Past Perfect , เหตุการณ์ที่ 2 Past Simple
:Future Perfect : S + will + have + V3 มีการวางแผนเกิดขึ้นในอนาคต เกิดขึ้นสองเหตุการณ์  เหตุการณ์ที่ 1  Future Perfect , เหตุการณ์ที่ 2 Present Simple
            ช่วงเวลาสุดท้าย Perfect Continuous …. Present Perfect Continuous :  S+ V to have +been+Ving ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบางช่วงเวลาในอดีตและดำเนินอยู่ในขณะที่พูด :
Past Perfect Continuous: S + had + been + Ving จะเป็นช่วงเวลาที่เกิดขึ้นในอดีต , Future Perfect Continuous: S + will/shall + have + been + Ving เป็นการเน้นความต่อเนื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเหมือนกับ Future Perfect
            ในการเรียน tense หรือการนำ tense มาใช้ในการเรียนในแต่ละ tense ก็มีตัวบ่งบอกเวลา ดังนี้ Present: always , often , sometime , usually , hardly,  , generally , seldom , every…..,one a week เป็นต้น, Past: yesterday , last….. , ago ,  recently , during the war เป็นต้น , Future: soon , tonight , tomorrow , next week , next….. เป็นต้น

            การเรียนภาษาเรื่อง tense ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในการเรียนวิชาการแปล ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องอ่าน ท่อง และฝึกฝนแบบฝึกหัดที่เกี่ยวกับ tense ให้มากเพื่อที่จะได้ความรู้ที่ถูกต้องและแม่นยำที่จะนำความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการเรียนฝึกฝนเพื่อให้เกความชำนาญและทักษะในการเรียนภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง



       Learning Log 3
การเรียนรู้นอกชั้นเรียน
      ปัจจุบันการศึกษาในประเทศมีหลากหลายรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ทุกคน ทุกวัยได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อที่จะต่อยอดความรู้เดิมหรือพัฒนาตนเอง หาความรู้ใหม่ๆได้หลากหลายวิธี การศึกษาจะพัฒนาตนเองเราต้องรู้จักวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง มีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เปิดใจยอมรับที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนและการที่เรามีการเตรียมความพร้อม หาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะเรียนมาก่อนเข้าชั้นเรียนนั้นถือเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง เพราะเราได้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนั้น นอกจากนั้นการที่เราไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องที่เรียนไปก็ทำให้เรามีความรู้มากขึ้นกว่าเดิม การเรียนในห้องเรียนคาบนี้ดิฉัน ได้เรียนรู้ถึงการเตรียมตัวสำหรับการเตรียมตัวในอนาคต , ระบบการเรียน Teach less , Learn more และ CEFR ซึ่งทำให้ดิฉันได้มาหา ข้อมูลเพิ่มเติมในสัปดาห์นี้
      การเป็นครูในอนาคตควรเป็นครูที่ดีและมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี นอกจากนั้นแล้วครูต้องมีความรู้เนื้อหาต้องมีความถูกต้องแม่นยำและมากพอที่จะถ่ายทอดความรู้ให้เด็กฟัง วิธีการสอนควรสร้างสรรค์เรียกความสนใจกับผู้เรียนได้ การออกแบบแผนการสอนให้ตรงและเหมาะสม ตามวัตถุประสงค์  ในปัจจุบันครูยุคใหม่ถือว่ามีความสำคัญน้อยกว่า  IT เนื่องจากสื่อการเรียนการสอนหรือการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยี (IT) เช่นอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยคมากสำหรับการศึกษาถ้าใช้ในทางที่ถูกและสร้างสรรค์และการเรียนการสอนในรูปแบบผสมผสาน ( blended  Learing ) เป็นการเรียนรู้ที่หลากหลายสำหรับการศึกษา
       Blended Learing การเรียนรู้แบบผสมผสาน รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน  ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธีการเรียนกาสอน ที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย การเรียนรู้เป็นสำคัญ
     Blended  Learning เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี  , blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว , เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในห้องเรียนและแบบออนไลน์ , สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม การเรียนแบบผสมผสานเป็นการรวมกันหรือการนำสิ่งต่างๆมาผสกัน คือ รูปแบบการเรียนการสอน รวมวิธีการเรียนการสอน และ รวมการเรียนแบบออนไลน์ ตั้งแต่อดีตปัจจุบัน และอนาคต การเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือ ส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากันจาก 2 รูปแบบ สภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม กับการเรียนแบบออนไลน์
   การเรียนการสอนแบบผสมผสาน Blended Learning เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ เหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้และตอบสนองตามความแตกต่างระหว่างบุคคลเกิดการเรียนรู้และการเกิดทักษะ ด้านการปฏิบัติ Practice Skill โดยใช้เทคโนโลยีมากขึ้น
   “Teach less , learn more สอนน้อยลงเรียนรู้มากขึ้นทุกคนสงสัยว่าทำไมถึงต้องสอนน้อย เรียนรู้มากขึ้น  ปัจจุบันบทบาทความเป็นครูในการสอนถือว่าน้อยมากเพราะมีสื่อ มีเดีย/เทคโนโลยี เช่น  tablet Computer notebook และโทรศัพท์มือถือและอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้น ครู มีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ครูต้องคำนึงถึงการออกแบบการเรียนรู้จากการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดและสืบค้นข้อมูล ฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
            แนวคิด teach less  , learn morn  (TLLM) เป็นแนวคิดการจัดการศึกษา ของประเทศสาธารณรัฐสิงค์โปร ภายใต้วิสัยทัศน์ในการพัฒนาจัดระบบการศึกษาที่กล่าวมา Thinking School ,Learn Nation  (TSLM) ซึ่งต้องการให้เกิดการศึกษาการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาด้วยการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่ง Thinking School เป็นวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้ทุกโรงเรียนจัดการศึกษาที่พัฒนาให้ผู้เรียนเป็นนักคิด   ส่วน Learning Nation เป็รวิสัยทัศน์ของการเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและความสามารถในการสร้างสรรค์เพื่อนำไปประยุกต์ ใช้ในชีวิตจริง นอกจากนี้แนวคิด teach less , learn morn ( TLLM ) ก็ยังมุ่งเน้นด้านความเป็นสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนที่ดีขึ้นและเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิตของผู้เรียนซึ่งต้องการการเปลี่ยนแปลงจากการจัดการศึกษาในเชิงปริมาณไปสู่การจัดการศึกษาเชิงคุณภาพคือต้องการเพิ่มการศึกษาในเชิงคุณภาพ และลดการจัดการศึกษาในเชิงปริมาณซึ่งการเพิ่มการจัดการศึกษาในเชิงคุณภาพ คือ การเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ส่วนการลดการจัดการศึกษาในเชิงปริมาณ คือ การลดบทบาทของครูจากครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้นำ กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ การลดการเรียนรู้ โดยการท่องจำ การสอบและการหาคำตอบ
              ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิด Teach Less , Learn More ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตัคติวิสต์ Constructivist เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน เชื่อว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมอย่างกระตือรือร้น ดังนั้นในปัจจุบัน โลกเรามีความทันสมัยมากขึ้น เราทุกคนก้อควรที่จะปรับตัว ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและประยุกต์ใช้ในอนาคตข้างหน้าได้ และการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Teach Less , Learn  More สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลากหลายวิธีแต่ต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
               CEFR  ( common  Eorpean  Framework  of  Reference  for  Languages ) กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ ของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป เป็นการกำหนดมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ ของประชากรของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป เพื่อให้โรงเรียนทุกๆโรงเรียน ในแต่ละประเทศที่เป็นชาติสมาชิกในสหภาพยุโรป ได้ออกแบบหลักสูตรและอำนวยการเรียนการสอนวิชภาษาอังกฤษ ที่มุ่งเน้นในการพัฒนา  ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ  ( English  Proficiency )  ให้กับประชากรของตนเอง เพื่อให้ประชากรในทุกๆประเทศของสหภาพยุโรป  สามารถใช้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษากลาง ในการสื่อสารแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและองค์กรความรู้ต่างๆ โดยปัจจุบัน กรอบมาตรฐานความสามารถ ทางภาษาอังกฤษ ( CEFR )  นั้นถือว่าเป็นมาตรฐานในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษ ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกโดยกรอบมาตรฐาน CEFR ได้แบ่งออกเป็น 6 ระดับ C1 ( Mastery ) สามารถเข้าใจภาษาผ่านการฟังและการอ่านได้อย่างคล่องแคล่ว , C2 EOP ( Efficient  Opertional  Proficiency ) สามารถเข้าใจความหมายที่แท้จริงในประโยคภาษาอังกฤษที่มีการซับซ้อนได้ , B2 ( Vantge ) สามารถเข้าใจความสำคัญของภาษาอังกฤษที่ซับซ้อนทั้งในส่วนของข้อเท็จจริงและอารมณ์ความรู้สึกของภาษาได้ , B1 ( Threshold ) สามารถเข้าใจความสำคัญของภาษาอังกฤษในโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องที่ตนเองมีความคุ้นเคย , A2 ( Waystage ) สามารถเข้าใจประโยคภาษาอังกฤษที่มักพบเจอบ่อยๆสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน , A1( Breakthrough ) สามารถเข้าใจประโยคภาษาอังกฤษที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันได้
              ในสังคมเราปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นตัวสำคัญในการเรียนรู้ที่ทำให้เราได้มีการพัฒนาตนเองและเรียนรู้สิ่งใหม่ และถ้าหากเราสามารถใช้สื่อและวิธีการ , กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมและถูกต้อง กสามารถกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในการศึกษามากยิ่งขึ้น การเรียนรู้นอกชั้นเรียนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่พิสูจน์เราในหลายๆด้าน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น