Learning Log
การเรียนรู้นอกชั้นเรียน
การอบรม
เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ .ในภาคบ่ายของวันที่
29 ตุลาคม 2558 เป็นการอบรมภาษาเพื่อการสื่อสารและกิจกรรม
ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขัตติถาวร
ได้บรรยายถึงการใช้ภาษาในการสื่อสารในปัจจุบันและการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน
ซึ่งในช่วงแรก อาจารย์ศิตา
ได้กล่าวว่าการใช้ภาษาในการสื่อสารในปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญ
พูดได้แต่ถ้าเราใช้คำศัพท์หรือออกเสียงผิด ความหมายก็จะผิดไปด้วย
เว้นวรรคในปัจจุบันที่มีคนใช้มากที่สุด คือ Mandarin และ ภาษาอังกฤษ
ที่มีการใช้มากที่สุดในเอเชีย ใช้เป็นภาษาที่ 2
ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน จะอยู่ลำดับที่ 4
ดังนั้นเราจำเป็นต้องเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ และสำนวนภาษาอังกฤษ การแปลที่ถูกต้อง
สรุปสิ่งที่ได้จากการอบรมดังนี้
อาจารย์ศิตา
ได้พูดถึงคำศัพท์ ได้ให้ผู้เข้าร่วมอบรมเล่นเกมส์โดย อาจารย์จะพูดตัวอักษร เช่น T : table เป็นต้น จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงคำศัพท์ที่คนไทยใช้กันผิด
และเมื่อไปพูดกับเจ้าของภาษา เจ้าของภาษาจะไม่รู้เรียนคำ คำนั้น เช่น : ชิว ชิว Chill Chill คนไทจะตีความหมายว่า สบาย
สบาย , นอย Noy คนไทยหมายถึงว่า
น้อยใจ เป็นต้น
นอกจากนี้ก็จะมีคำที่เราใช้กันติดปากมาช้านาน และใช้จนถึงปัจจุบัน เช่น คำว่า
สุดแซก , wash the film คนไทยหมายถึงการล้างรูป ซึ่งคำที่ถูกต้องคือ process photographs , เป็นต้น
และอีกหนึ่งคำที่คนไทยใช้ผิดคือ
การใช้คำที่มาจากชื่อยี่ห้อสินค้า เช่น mama ต้องเป็น instant noodles หมายถึง
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น จากคำที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าป็นคำที่คนไทยส่วนใหญ่ใช้ในชีวิตประจำวัน
หัวข้อต่อมา
อาจารย์ศิตา ได้บรรยายถึงปัจจัยที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลง:พื้นฐานความต้องการของ
มนุษย์
ซึ่งนำเสนอ “ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์. (อังกฤษ: Maslow's hierarchy of needs) เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยา ที่เสนอโดย
อับราฮัม มาสโลว์ ในรายงานเรื่อง "A Theory of
Human Motivation" ปี 1943[2]
หลังจากนั้นมาสโลว์ยังไปขยายแนวคิดไปรวมถึงข้อสังเกตของเขาเกี่ยวกับความอยากรู้อยากเห็นแต่กำเนิดของมนุษย์
ทฤษฎีของเขาคล้ายกับทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการหลาย ๆ ทฤษฎี
ซึ่งทั้งหมดเน้นที่การเติบโตของมนุษย์ในระยะต่าง ๆ
ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ มักถูกนำเสนอโดยรูปพิระมิด
ที่ความต้องการที่มากที่สุด
พื้นฐานที่สุดจะอยู่ข้างล่างและความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต (self-actualization) จะอยู่บนสุด
พิระมิดแบ่งออกเป็น 5 ชั้นคร่าวๆของความต้องการต่างๆ คือ
ความสมบูรณ์ของชีวิต (self-actualization), ความเคารพนับถือ
(esteem), มิตรภาพและความรัก (friendship and love), ความมั่นคงปลอดภัย (security), และความต้องการทางกายภาพ ถ้าความเคารพนับถือ, มิตรภาพและรัก หรือ ความมั่นคงปลอดภัย ขาดพร่องไป
แม้ร่างกายจะไม่ได้แสดงอาการใดๆออกมาแต่บุคคลนั้นๆรู้สึกกระวนกระวายและเกร็งเครียด
ทฤษฎีของมาสโลว์ยังบอกด้วยว่า
ชั้นความต้องการที่พื้นฐานมากกว่าหรืออยู่ข้างล่างของพิระมิด
จะต้องได้รับการตอบสนองก่อนที่บุคคลจะเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าต่อความต้องการในระดับที่สูงขึ้นได้
ความต้องการทางกายภาพ
ความต้องการทางกายภาพ เป็นความต้องการเพื่อจะอยู่รอดของมนุษย์ ถ้าความต้องการพื้นฐานที่สุดนี้ไม่ได้รับการตอบสนอง
ร่างกายของมนุษย์ก็ไม่สามารถทำงานได้ หรือไม่สามารถทำงานได้ดี อากาศ น้ำ
อาหาร เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในกระบวนการสร้างและสลาย
เพื่อให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เสื้อผ้าเครื่องนุ่นห่มและ ที่พัก
จะให้การปกป้องที่จำเป็นกับมนุษย์ จากสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม
สัญชาตญาณและความต้องการทางเพศ ถูกพัฒนามาจากการแข่งขันเพื่อโอกาสในการผสมและสืบพันธุ์
ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
เมื่อความต้องการทางกายภาพได้รับการตอบสนองในระดับที่พอเพียง
ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยจะมีอิทธิพลกับพฤติกรรม ถ้าไม่มีความปลอดภัยทางกายภาพ
(จากสาเหตุ เช่น อาชญากรรม สงคราม การก่อการร้าย ภัยพิบัติธรรมชาติ หรือ ความรุนแรงในครอบครัว)
คนอาจมีอาการของความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder) และอาจมีส่งผ่านความเครียดนี้ไปยังคนรุ่นหลังได้
ถ้าไม่มีความปลอดภัยมั่นคงทางเศรษฐกิจ (จากสาเหตุ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ หรือ
การขาดโอกาสทางการงาน) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยนี้ อาจปรากฏออกมาในรูปของ
การนิยมงานที่มีความมั่นคง
กระบวนการร้องทุกข์เพื่อปกป้องบุคคลจากการกลั่นแกล้งของผู้บังคับบัญชา หรือ
ปกป้องบัญชีเงินฝาก เรียกร้องนโยบายประกันภัย ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ต่างๆ
การเรียกร้องที่พักที่เหมาะสมสำหรับคนพิการ เป็นต้น ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย รวมถึง(ความมั่นคงปลอดภัยส่วนบุคคล,ความมั่นคงปลอดภัยทางการเงิน,สุขภาพและความเป็นอยู่, ระบบรับประกัน-ช่วยเหลือ
ในกรณีของอุบัติเหตุ/ความเจ็บป่วย)
ความรักและความเป็นเจ้าของ
เมื่อความต้องการทางกายภาพและความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว
ระดับขั้นที่สามของความต้องการมนุษย์คือ ความต้องการเป็นเจ้าของ
ความต้องการนี้จะรุนแรงมากในวัยเด็กและบางครั้งอาจจะชนะความต้องการความปลอดภัยได้ในบางครั้ง
ดังเห็นได้จากการที่เด็กติดพ่อแม่ที่เป็นอันตราย ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "Stockholm syndrome" การขาดความรักและความเป็นเจ้าของ
(อาจมาจาก การขาดความผูกพันจากผู้เลี้ยงดูขณะเป็นทารก (hospitalism), การถูกทอดทิ้ง (neglect),
การถูกสังคมรังเกียจหรือกีดกัน
(shunning), การถูกขับออกจากกลุ่ม (ostracism) เป็นต้น) อาจมีผลทำให้บุคคลไม่สามารถพัฒนาหรือรักษาความสัมพันธ์ที่สำคัญ
(เช่น มิตรภาพ ความรัก ครอบครัว) ไว้ได้
มนุษย์ต้องการที่จะรู้สึกเป็นเจ้าของและถูกยอมรับ
ไม่ว่าจะเป็นในระดับกลุ่มสังคมใหญ่ เช่น สโมสร กลุ่มศาสนา องค์กรสายอาชีพ ทีมกีฬา
แก็งส์ หรือ ความสัมพันธ์ทางสังคมเล็กๆ (สมาชิกในครอบครัว คู่ชีวิต พี่เลี้ยง
เพื่อนสนิท) มนุษย์ต้องการที่จะรักและถูกรักจากคนอื่น
ถ้าขาดความต้องการเรื่องนี้ไป หลายๆคนกลายเป็นคนขี้เหงา มีปัญหาการเข้าสังคม และ
เป็นโรคซึมเศร้า ความต้องการเป็นเจ้าของนี้ บ่อยครั้งที่สามารถจะชนะความต้องการทางกายภาพและความมั่นคงปลอดภัยได้
ขึ้นกับแรงกดดันจากคนรอบข้าง (peer pressure) เช่น
คนที่มีอาการ anorexic (เบื่ออาหาร)
อาจละเลยความต้องการอาหาร และความปลอดภัย เพียงเพื่อได้ความต้องการควบคุมและเป็นเจ้าของ
ความเคารพนับถือ
มนุษย์ทุกคนต้องการที่จะได้รับการนับถือและเคารพให้เกียรติ
ความเคารพนับถือแสดงถึงความต้องการของมนุษย์ที่จะได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าโดยคนอื่น
คนต้องการที่จะทำอะไรจริงจังเพื่อจะได้รับการยอมรับนับถือและต้องการจะมีกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกว่าเขาได้มีส่วนทำประโยชน์
เพื่อจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ หรือ งานอดิเรก
ความไม่สมดุลในความเคารพนับถือ
อาจส่งผลให้มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำและรู้สึกต้อยต่ำ
คนที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำต้องการการเคารพจากคนอื่นๆ
เขาอาจพยายามแสวงหาความมีชื่อเสียง (ซึ่งขึ้นกับผู้อื่น) หมายเหตุ อย่างไรก็ตาม
คนจำนวนมากที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ
ไม่สามารถที่จะแก้ไขความภาคภูมิใจตัวเองได้ง่ายๆโดยการมีชื่อเสียง ได้รับความเคารพ
จากภายนอก แต่ต้องยอมรับตัวเองจากภายใน ความไม่สมดุลทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า
อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมีความภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem)
ได้ คนส่วนใหญ่มีความต้องการความเคารพและความภาคภูมิในในตนเองที่มั่นคง
มาสโลว์ได้กล่าวถึงต้องการความเคารพนับถือใน 2 ระดับ คือ ระดับล่าง กับ ระดับสูง
ระดับล่าง เป็นความต้องการความนับถือจากคนอื่น ความต้องการสถานะ การยอมรับ
ชื่อเสียง ศักดิ์ศรี และ ความสนใจ ระดับสูง เป็นความต้องการความเคารพตัวเอง
ความต้องการความแข็งแกร่ง ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ความมั่นใจในตัวเอง
ความเป็นตัวของตัวเอง และ อิสระ ที่ความต้องการเหล่านี้จัดเป็นระดับสูง ก็เพราะว่า
มันขึ้นกับความสามารถภายในมากกว่า ซึ่งได้มาโดยผ่านประสบการณ์ การขาดความต้องการเหล่านี้ อาจทำให้ความรู้สึกต่ำต้อย อ่อนแอ
และช่วยตัวเองไม่ได้ หมดหนทาง มาสโลว์ได้หมายเหตุไว้ว่าการแบ่งขั้นความต้องการความเคารพนับถือระดับล่างกับสูงนี้เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่จะเป็นการแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน
ความสมบูรณ์ของชีวิต
ความสมบูรณ์ของชีวิต“อะไรที่บุคคลเป็นได้ เขาต้องเป็น” (“What a man
can be, he must be.”)[4] เป็นคำกล่าวของมาสโลว์ที่สรุปความหมายของความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตไว้
ความต้องการนี้ เกี่ยวกับ ศักยภาพสูงสุดของบุคคล และ การตระหนักถึงศักยภาพนั้น
มาสโลว์อธิบายว่านี้คือความต้องการที่ปรารถนาจะเป็นมากกว่าที่เขาเป็นอยู่
เป็นความปรารถนาที่จะเป็นทุกๆอย่างที่เขาจะสามารถเป็นได้ เพื่อที่จะเข้าใจความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิตได้
บุคคลจะต้องได้รับการตอบสนองความต้องการอื่นๆ (กายภาพ ความปลอดภัย ความรัก
ความเคารพนับถือ) อย่างดีแล้วก่อน
สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
จากการอบรมภาษาเพื่อการสื่อสารและกิจกรรมในช่วงบ่ายคือ ได้เรียนรู้คำศัพท์
ซึ่งเรียนรู้ว่าคำศัพท์ที่คนไทยในปัจจุบันและในชีวิตประจำบางคำเป็นคำที่ผิด
ไม่สมควรใช้และได้เรียนรู้คำศัพท์ที่ถูกต้อง จากนั้นได้ฟังคำบรรยายในหัวข้อ “ปัจจัยที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลง” ในการอบรมช่วงนี้อาจารย์ศิตากล่าวสรุปว่าถ้าหากเราใช้ภาษาหรือคำศัพท์
สำเนียงผิดความหมายก็จะผิดไปเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น